เชียงคาน กับเพื่อนเก่า ในอดีตที่คบกันมากว่า 30 ปี
- ณ เลย
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- หมวด: เที่ยวชมวัฒนธรรม
- 22 พฤศจิกายน 2019
เชียงคาน ฟังชื่อแล้วเหมือนเมืองที่สาวโสดอาจจะกลัว เพราะชื่อเหมือนกับเป็นว่าแล้วต้องขึ้นคาน ในครั้งนี้เป็นการเที่ยวแบบเฉพาะกิจโดยเฉพาะ เป็นงานเลี้ยงรุ่นของเพื่อนสมัยเรียน หากใครที่เริ่มแก่ตัวแล้วก็คงจะรู้ว่าสักวันหนึ่งเราก็ต้องมีการจัดพบปะกัน เป็นงานเลี้ยงรุ่นเพื่อนรุ่ตั้งแต่มัธยมต้น และในตอนนั้นก็เรียนจบมาในปี พ.ศ. 2529 ปีแล้วก็ประมาณ 30 ปีผ่านไปแล้ว เรามีนัดมาเจอกันทุกๆ ปี ครั้งนี้ก็เป็นครั้งที่ 3 แล้ว ก็ต้องขอบคุณเพื่อนป้อมด้วยนะที่เป็นคนจัดการให้กับจุดท่องเที่ยว ที่พัก และที่กิน เธอจัดการดูแลแหล่งท่องเที่ยวให้ครบ ส่วนการเดินทางครั้งนี้เราเดินทางด้วยเครื่องบิน สายการบินจะมีจำนวนเที่ยวน้อยไปหน่อย คือช่วงเช้ามี 2 เที่ยว บ่ายเที่ยวเดียว โดยเริ่มเดินทางช่วงเช้าไปถึงช่วงสายๆของวัน ให้เพื่อนมารับที่สนานบิน ซึ่งจะเป็นเพื่อนอีกชุดที่เดินทางมาด้วยรถตู้ร่วมขันเช่ารถกันมา จากนั้นก็ตรงเข้าที่พัก
ตัวเมืองเชียงคานก็เป็นที่นิยมมานาน เราเองก็ไม่ได้มีโอกาสที่จะได้แวะเวียนมาเยี่ยมชมเลย ตั้งใจอยู่หลายครั้งสุดท้ายก็ได้มาเฉพาะคนแก่เรียนนี่แหละ ที่เรียกว่า “คนแก่เรียน” ก็มีที่มาจาก เราก็เริ่มอายุเยอะกัน คนมีอายุเยอะก็เป็นคนแก่ และคนแก่เหล่านี้เรียนที่โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน แถมได้ 2 ความหมายว่าเราเริ่มสูงอายุขึ้น แต่ตัวเองไม่คิดว่าตัวเองจะแก่หรอกนะ (บอกตัวเอง) แล้วก็ความหมายคือ คนแก่เรียน คือคนเรียนที่เรียนรู้มาเยอะ มีประสบการณ์มาเยอะก็เลย
ประวัติความเป็นมาเมืองเชียงคานเดิมตั้งอยู่ที่เมืองชะนะคาม ประเทศลาว ซึ่งสร้างโดยขุนคาน โอรสของขุนคัวแห่งอาณาจักรล้านช้าง เมื่อประมาณ พ.ศ. 1400 ต่อมาประมาณ พ.ศ. 2250 อาณาจักรล้านช้างแยกออกเป็นสองอาณาจักรคือ อาณาจักรหลวงพระบาง ซึ่งมีพระเจ้ากีสราชเป็นกษัตริย์ และอาณาจักรเวียงจันทน์ ซึ่งมีพระเจ้าไชยองค์เว้เป็นกษัตริย์ โดยกำหนดอาณาเขตให้ดินแดนเหนือแม่น้ำเหืองขึ้นไปเป็นอาณาเขตหลวงพระบาง และใต้แม่น้ำเหืองลงมาเป็นอาณาเขตเวียงจันทน์ ต่อมาทางหลวงพระบางได้สร้างเมืองปากเหืองซึ่งอยู่ฝั่งขวาของแม่น้ำโขงเป็นเมืองหน้าด่านและทางเวียงจันทน์ได้ตั้งเมืองเชียงคาน
เดิมเป็นเมืองหน้าด่านเช่นกัน ต่อมา พ.ศ. 2320 พระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกกับพระสุรสีห์ ยกทัพไปตีกรุงเวียงจันทน์ ตีเวียงจันทน์ได้จึงได้อัญเชิญพระแก้วมรกต กลับมายังกรุงธนบุรี แล้วได้รวมอาณาจักรล้านช้างเข้าด้วยกันและให้เป็นประเทศราชของไทย และได้กวาดต้อนผู้คนพลเมืองมาอยู่เมืองปากเหืองมากขึ้น แล้วโปรดเกล้าฯ ให้เมืองปากเหืองไปขึ้นกับเมืองพิชัย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 เจ้าอนุวงศ์ เจ้าเมืองเวียงจันทน์ คิดกอบกู้เอกราชเพื่อแยกเป็นอิสระจากไทยโดยยกกำลังจากเวียงจันทน์มายึดเมืองนครราชสีมา แต่ในที่สุดเจ้าอนุวงค์ถูกจับขังจนสิ้นชีวิต กองทัพไทยที่ยกมาปราบเจ้าอนุวงศ์ที่นครราชสีมาได้ยกทัพไปกวาดต้อนผู้คนจากฝั่งซ้ายของลำน้ำโขงมายังเมืองปากเหืองมากขึ้น และโปรดเกล้าฯ ให้พระอนุพินาศ (กิ่ง ต้นสกุลเครือทองศรี) เป็นเจ้าเมืองปากเหืองคนแรก แล้วพระราชทานชื่อเมืองใหม่ว่าเมืองเชียงคาน ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกจีนฮ่อได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ เมืองหลวงพระบางและได้เข้าปล้นสะดมเมืองเชียงคานเดิมที่อยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ชาวเชียงคานเดิมจึงอพยพผู้คนไปอยู่เมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) เป็นจำนวนมาก
ครั้งต่อมา เห็นว่าชัยภูมิเมืองเชียงคานใหม่ (เมืองปากเหือง) ไม่เหมาะสม ผู้คนส่วนใหญ่จึงอพยพไปอยู่ที่บ้านท่านาจันทร์ซึ่งใกล้กับที่ตั้งของอำเภอเชียงคานปัจจุบัน แล้วตั้งชื่อใหม่ว่า เมืองใหม่เชียงคาน ต่อมาไทยได้เสียดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้กับฝรั่งเศส ทำให้เมืองปากเหืองตกเป็นของฝรั่งเศส คนไทยที่อยู่เมืองปากเหืองจึงอพยพมาอยู่เมืองใหม่เชียงคานหรืออำเภอเชียงคานปัจจุบันโดยสิ้นเชิง แล้วได้เปลี่ยนชื่อเมืองเป็นเมืองเชียงคานใหม่ ได้ตั้งที่ทำการอยู่บริเวณวัดธาตุ เรียกว่าศาลาเมืองเชียงคาน ต่อมาได้ย้ายไปอยู่บริเวณวัดโพนชัย จนกระทั่งปี พ.ศ. 2452 เมืองเชียงคานซึ่งมีพระยาศรีอรรคฮาด (ทองดี ศรีประเสริฐ) ได้รับตำแหน่งนายอำเภอเชียงคานคนแรก ต่อมาปี 2484 ได้ย้ายที่ว่าการอำเภอเชียงคานมาอยู่ ณ ที่อยู่ปัจจุบันตราบเท่าทุกวันนี้
แหล่งข้อมูลจาก สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเชียงคาน
แสงสีทองยามพระอาทิตย์กำลังจะตกแสงสีทองนี้แสงที่ช่างภาพส่วนใหญ่เป็นที่ต้องตาต้องใจของช่างภาพช่วงเวลาทองของการถ่ายภาพอยู่ในภาพสีเหลืองอำพันเหมือนสีทอง ถ่ายออกมายังไงมันก็ดูสวยส่วนการชมพระอาทิตย์ตกที่อำเภอเชียงคานมีอยู่ด้วยกัน 2 แบบ แบบแรกคือ เดินชมบนถนนเลียบฝั่งโขงหรือ ถนนชายโขง ได้เลยนะครับจะมีถนนที่เขาทำไว้ให้ยาวประมาณประมาณ 2 กิโลเมตร เดินรับลมเย็นยามค่ำ ช่วงเวลา 16:00 – 17:00 น. เป็นเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นเดินเล่น ค่อยๆเดินไปนะเมื่อถึงเวลาพระอาทิตย์ตก เราจะพบกับแสงสีทอง ที่แสดงต่อหน้าต่อตาเรา สวยงามมาก มีวิวเขาอยู่ไกลๆ รับด้วยแม่น้ำโขง สะท้อนแสงเพิ่มกำลัง 2 เข้าไปอีกในความสวยงาม หากใครที่เช่าจักรยานมาก็สามารถมาปั่นจักรยานเล่นก็ได้เหมือนกัน
ล่องเรือชมพระอาทิตย์ตก พร้อมอาหาร เป็นอีกวิธีที่จะได้ชมพระอาทิตย์ตกอีกมุมของ 2 ฝั่งไทยและลาว คือการล่องเรือ ซึ่งคณะเราเองนั้นไม่ได้ใช้บริการ เลยไม่ได้เก็บภาพมาให้ชมกัน
ส่วนใครที่ใช้เส้นทางเดินชมก็สามารถที่จะมองๆ ดูที่พักในอนาคตไปด้วยก็ได้ว่า หากมีโอกาศมาอีกครั้งจะพักที่ไหนดี มาดูให้เห็นกับตาดีกว่าดูภาพถ่ายหรือรีวิวนะ ที่พักแต่ละที่ก็ให้บรรยากาศแตกต่างกันออกไป ใครชอบแบบไหนก็เลือกกันเอานะ ส่วนมากแล้วนั้นจะเป็นบ้านเก่า บ้านไม้ที่ทำการปรับปรุงให้เหมาะสมสำหรับการเป็นที่พักสนนราคาตั้งแต่หลักร้อยไปจนถึงหลักพัน ข้อดีของการเข้าพักแถวนี้คือยามเช้าๆ เราสามารถตื่นขึ้นมาพร้อมกับตักบาตรข้าวเหนียวได้เลย ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
เพิ่มเติมเล็กๆ น้อยๆ หากคุณกำลังอยู่ที่แห่งนี้แล้วไม่เห็นคนขายลอตเตอรี่ถือว่าเป็นเรื่องผิดปกติอย่างมาก ให้รู้เอาไว้ว่าที่แห่งนี้คือแหล่งรวมผลคนขายลอตเตอรี่ คือส่วนมากแล้วจากการสำรวจที่เขาทำบอกเอาไว้ว่าคนขายลอตเตอรี่จำนวนมากแล้วจะมีภูมืลำเนามาจากจังหวัดเลย จะเรียกว่าเป็นเมืองหลวงเลยก็ได้ หรือจะเรียกว่าทัพหลวงก็ได้นะ
เพื่อนตาย นั้นหาไม่ยาก หากคุณอายุเริ่มมากขึ้น ก็จะมีเพื่อนตาย มากขึ้นตาม
หลังจากที่เราได้ทานข้าวทานปลาอาหารเป็นที่เรียบร้อย สิ่งที่จะขาดไม่ได้สำหรับสาวๆ ก็คือเรื่องของการเดินช้อปปิ้ง เดินหาซื้อของฝาก ซื้อของกระจุกกระจิก เล็กๆน้อยๆ ผ้าห่ม หน้ากากผีตาโขน ขนม ข้างทางมีให้เลือกชมเยอะแยะ ระยะทางตั้งแต่ต้นทางจนสุดถนนโดยประมาณ 2 กิโลเมตร ไปกลับถือว่าได้ออกกำลังกายโดยไม่รู้ตัวเลยนะ ก็อย่างว่าละเดินไป หยุดชมนั้น ชิมนี่ ไม่มีเหนื่อย ยังเสียดายที่เราดันทานมื่อค่ำเยอะไหน่อย จะไม่มีพื้นที่เหลือให้อาหารข้างทาง หน้าตาอร่อยๆ อื่นๆ อีกเลย แต่ก็ไม่เป้นไร คิดอีกทีก็เป็นการประหยัดตังก็ได้นะ ไม่งั้นมีหมดตัวจริงๆ นะเอาเพราะกลิ่นมันชวนชิมจริงๆ แม้เราจะอิ่มมาแล้วก็ตาม เดินช้อปปิ้ง เดินหาซื้อของฝาก ซื้อของกระจุกกระจิก เล็กๆน้อยๆ ผ้าห่ม หน้ากากผีตาโขน ขนม ข้างทางมีให้เลือกจับจ่ายเยอะแยะ พอๆ กันจำนวนของคนที่มาเดิน ณ ถนนคนเดินแห่งนี้ ก็ไม่ได้ทำให้ความตั้งใจลดลงแต่อย่างใด เราก็ยังคงเดินชมได้อย่างสบาย
หลังจากที่ใช้เวลาอยู่ประมาฯเกือบๆ 2 ชั่วโมงในการเดินชมทั้งไป และกลับสิ่งที่พบได้จนจะรู็สึกดีใจไปด้วยกับโรงแรมที่พัก หรือจะเสียใจไปกับคนที่กำลังหาที่พักดี คือหันไปทางไหนก้เห็นป้ายหน้าโรงแรมแจ้งว่า “เต็ม” เต็มที่ทุก มีเหลือน้อยมากที่จะไม่ติดป้าย แสดงว่าเชียงคานนั้นยังเป็นที่นิยมอยู่ในช่วงอากาศเย็นสิ้นปีอย่างนี้ ส่วนใครจะมาก็ต้องเตรียมตัวให้ดีแล้วกันโทรจองได้โทร รีบตัดสินใจ ช้ามีอดนอน แต่ก็นั้นละเราก็ยังหาที่พักอื่นนอกสถานที่ได้อยู่ ไม่น่าเดือนร้อนอะไร เสร็จธุระกลับที่พักของเราต่อรอบดึกนั่งคุยเรื่องราวเก่าๆ ที่ผ่านมาในสมัยเรียน คืนนี้ยาว
สายงานอย่างเราให้ตื่นแต่เช้าเป็นเรื่องท่าท้ายอย่างมาก แต่ก็ยอมที่จะตื่นมห้เช้า เพื่อเดินทางต่อไปที่ยังภูทอก อากาศในวันนั้นอยู่ที่ 17 องศาได้หนาวจับใจจริง ขึ้นรถตู้ไม่นานก็ถึงที่หมาย ไม่สามารถที่จะนำรถส่วนบุลคลขึ้นไปยังข้างบนได้ต้องต่อรถ 2 แถวที่มีให้บริการ ค่าบริการ ไป-กลับภูทอก คนละ 25 บาท เป็นรถกระบะที่จะพายังจุดชมวิว ไอ้ตอนที่นั่งรถ 2 แถวนี้ละจากที่ไม่หนาว เล่นเอาหนาวจับใจใครไม่มีเสื้อกันหนาวมาด้วยก็จะรับรู้ได้ในใจว่า กูมาทำอะไรที่นี่ แนะนำทำให้ร่างกายอบอุ่นด้วย เมื่อถึงจุดชมวิว จะพบกับเพื่อนของเราจากถนนคนเดินนั้นละครับ พวกเขาก็จะมายังจุดนี้เหมือนกัน แต่จำนวนอาจจะไม่มากเท่า แต่มากเอาเรื่องเหมือนกัน จุดชมวิวจะอยู่ด้านขวามือของเรา ค่อยเดินเอานะครับ แบบแบ่งๆ กันชมถ่ายรูปเสร็จก็หลบให้คนอื่นถ่ายต่อ ช่วงเวลาของพระอาทิตย์กำลังขึ้นพ้นขอบภูเขาจะให้เวลาสั้นมา ไม่กี่นาที ก็เลือกเก็บภาพตามสะดวกจะมุมกว้าง หรือมุมซูมเข้าไปใกล้ๆ ก็ได้ หลังจากนั้นให้รออีกช่วงเวลา ที่แสงอาทิตย์ที่มีความร้อนมากระทบกับกลุ่มหมอก จะทำให้เกิดเป็นภาพเหมือนพื้นดิน แต่พื้นดินเป็นพื้นหมอกแทน สวยงามจริงสำหรับผู้ที่รอชม
ณ จุดนี้ได้เรียนรู้เรื่องการถ่ายรูปเลยนะ คือเรื่องของการวัดแสง แบบให้เข้าใจง่ายๆ ก็คือหากเราต้องการป้ายที่แสดงอยู่อ่านออกสว่างชัด พระอาทิตย์ที่กำลังขึ้นก็จะสว่างเกินไป ในทางกลับกันหากเราต้องการพระอาทิตย์สวย ป้ายก็จะมืดไป เอาละสิเหมือนเราจะรักพี่ เสียดายน้อง หากใครที่ใช้มือถือถ่ายก็อย่าลืมเปิดระบบ HDR ด้วยนะเป็นระบบที่เขาพัฒนาขึ้นมาเพื่อให้แสงที่แสดงออกมาเท่าๆ กันทั้งไม่สว่างเกินไป หรือมือเกินไป เปิดแล้วก็กดถ่ายได้เลย แต่ใช่ว่าหมอกจะมีให้เราเห็นตลอดปีนะ ในตอนเย็นก่อนที่เราจะเดินทางขึ้นไปชมหมอก ก็ให้สังเกตุแม่น้ำโขงในตอนเย็นที่เราไปเดินเล่นนั้นมีหมอดบางๆ ให้เห็นมั้ย ถ้ามีก็ 100% ที่จะได้ชมหมอกที่ภูทอก คำพูดจากคนท้องถิ่น
เสร็จภาระก็ลงมาเข้าคิวรอขึ้นรถกระบะกลับลงด้านล่าง มีการจัดการให้เป็นอย่างดี ให้เข้าคิวเป็นคันๆ ไป ไม่ต้องแย้งกันลง เหมือนตอนแย้งขึ้นมา เราก็กลับที่พักทานอาหารเช้า พร้อมกลับสู่กรุงเทพสำหรับเพื่อนๆ ในบางส่วน ส่วนเรานั้นไปต่อที่ภูเรือ เดียวจะมาเล่าให้ฟังตอน ส่วนครั้งนี้ได้อะไรกลับไปบาง มันมีหลายสส่วนอย่างที่อยากจะพูดถึงคือครั้งนี้ สถานที่เที่ยวกลายเป็นตัวประกอบไปเลยสำหรับเรา เพราะตัวละครหลักของเราเป็นเพื่อนเก่าที่ไม่ได้เจอกันมานาน ได้มาใช้ชีวิตรวมกันอีกครั้ง ได้เล่าเรื่องในอดีตต่างๆ น่าๆ จนเหมือนกับว่า อดีตที่ไม่เคยเก่า ก็เป็นแบบนี้เอง นำมาเล่าอีกก็สนุกทุกๆ ครั้ง การที่เราได้เป็นเพื่อนกับใครสักคน ไม่ว่านานเท่าไร ความเป็นเพื่อนกันก็ยังคงอยู่ต่อไป ส่วนตัวประกอบของเราก็ทำหน้าที่ได้ดี ถึงแม้ว่าจะมีตัวละครหลักจากหลายๆ ที่เข้ามาอยู่ในพื้นที่เดียวกัน จำนวนมาก เขาก็พร้อมที่รับใช้นักท่องเที่ยวได้ตลอดเวลา รับได้จริง
Copyright 2020 – Your Time Travel design by Chittakorn Corporation Co.,Ltd