ดูช้างป่า ที่กุยบุรี 2563 เพื่อช่วยให้รู้จักกับการรอคอย

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

ดูช้างป่า ที่กุยบุรีของเรานั้นเริ่มต้นมาจากการที่ได้ไปพักผ่อนที่บริเวณเขาสามร้อยยอดแล้วเราก็เลยขับรถมาต่อที่อุทยานแห่งชาติกุยบรี ซึ่งเป็นการเดินทางที่ไม่ห่างไกลจากกันมากใช้เวลาไม่นาน เพราะเราต้องการเที่ยวชมธรรมชาติในแบบที่เราไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะได้เห็นช่างป่าจำนวนมากน้อยเท่าไร ด้วยจากที่ได้ลองค้นหา และเปิดดูหาวิดีโอตาม Youtube ส่วนมากจะได้เห็น แต่ก็มีบางกลุ่มนักท่องเที่ยวบางกลุ่มที่ได้พบเห็ยกับช้างจำนวนไม่มากนัก นั้นส่งผลให้เป็นตัวเพิ่มความสนุกในใจให้เรา หากคุณคิดเหมือนกับเรา คืออยากได้อะไรที่ไม่ค้องคิดมากปล่อยให้เป็นไปตามธรรมดา ได้เห็นหรือไม่ได้เห็น ไม่ใช่ประเด็น แต่ประเด็นคือเราไปออกไปดูธรรมชาติ ออกไปใกล้ชิดธรรมชาติ เพียงเท่านี้ ก็สุขใจแล้ว

การเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

จากเส้นทางหมายเลข 4 ให้เราเตรียมตัวเลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนมุ่งหน้าไปที่หมู่บ้านยางชุม ถนนหมายเลข 3217 มีป้ายแสดงให้เห็นชัดเจน ซ้างมือจะเห็นช้าง 2 เชือกยืนอยู่พร้อมป้ายแสดงเส้นทางให้เราทราบว่าอีก 30 กิโลเมตรจะถึง อุทยานแห่งชาติกุยบุรี ระหว่างเส้นทางคุณสามารถที่จะเลือกได้ว่า จะแวะชมอ่างเห็บน้ำยางชุมก่อนก็ยังได้ หากมาช่วงเที่ยววันหรือบ่ายไม่มาก ก็สามารถแวะชมได้ก่อนเพราะการเข้าไปชมช้างป่านั้นจะให้มีโอกาศให้เหมาะที่สุดคือ เริ่มเวลา 15:00 – 18:00 น. คือที่พูดอย่างนี้ได้ความคิดจากหลังที่ได้เยี่ยมชมมาแล้วนะ จะได้เห็นช้างมากยิ่งขึ้น หรือสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย ส่วนเรื่องน้ำมันก็เตรียมมาให้พอนะ ไปและกลับรวมกันเป็น 60 กิโลเมตร หาปั้มน้ำมันยากหน่อย

การเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
การเดินทางสู่ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

 

ถนนหนทางในการเดินทางใช้งานได้ดี ไม่มีให้ต้องใช้ความชำนาญอะไรมากมาย คือขับสบายครับ แต่อย่าพยายามให้ความเร็วมากไปเพราะส่วนมากเป็นหมู่บ้าน แต่ที่น่าสนใจอีกอย่างคือบรรยากาศของ 2 ข้างทางทำให้ผมเองต้องหยุดขอเวลาถ่ายภาพสวยๆ เอามาฝาก หยุดเป็นระยะ พอกลับบ้านมานั่งดูภาพที่ตัวเองถ่ายส่วนใหญ่แล้วก็พบว่าจะเป็นรูปทางเส้นทาง หรือภาษาการถ่ายรูปเขาเรียนว่า ถ่ายให้มีเส้นนำสายตา เส้นที่ว่าคือถนน ที่จะนำสายตาของเราไปยังจุดที่ปลายถนนนั้น เสมือนคนที่กำลังชมภาพถ่ายอยู่นั้นกำลังจะมีความรู้สึกเคลื่อนไหวตาม ทำให้ภาพออกมาดูมีชีวิตนิดหน่อย มีจุดที่น่าสนใจ โฟกัสได้ถูกจุด ในวันนั้นที่ไปแดดกำลังดีมาก (ร้อนมาก) สีของภาพที่ออกมาก็สดตาม เป็นสิ่งที่ช่างภาพส่วนใหญ่ต้องการ แต่ต้องแลกมากับตัวที่ดำขึ้นไปด้วย ถ้ามาช่วงที่เป็นหน้าฝนก็คงได้ความเขียวมากว่านี้เข้าไปอีก

เส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติ กุยบรี
เส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติ กุยบรี

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ข้อมูลจากหน่วยงาน เรามาดูรายละเอียดและความเป็นมากัน จากสถานการณ์ป่าไม้ในปัจจุบันพบว่า พื้นที่ป่าไม้ถูกทำลายจนน่าวิตกว่าจะมีปริมาณไม่เพียงพอที่จะรักษาสภาพสมดุลธรรมชาติเอาไว้ ซึ่งอาจจะก่อให้เกิดกรณีอันน่าสลด หากไม่เร่งดำเนินการรักษาสภาพธรรมชาติเอาไว้ ดังนั้น กรมป่าไม้จึงมีคำสั่ง ที่ 475/2532 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2532 ให้ นายจุมพล เจริญสุขพาณิชย์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 กองอุทยานแห่งชาติไปดำเนินการสำรวจเบื้องต้นที่ป่าบริเวณวนอุทยานปราณบุรี และพื้นที่ใกล้เคียง เขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเก่า-คลองคอย และกรมป่าไม้มีคำสั่ง ที่ 1627/2532 ลงวันที่ 19 ตุลาคม 2532 ให้นายสรรเพชร ราคา เจ้าพนักงานป่าไม้ 5 กองอุทยานแห่งชาติ ไปดำเนินการสำรวจเพิ่มเติม เพื่อดำเนินการจัดตั้งพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติกุยบุรี ให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 โดยให้ทำหน้าที่หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี

ผลการสำรวจพบว่า สภาพพื้นที่โดยทั่วไปเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน เป็นป่าผืนใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกติดต่อกับชายแดนพม่า เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาตะนาวศรี ประกอบด้วยป่าดิบชื้น ป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณ หนาแน่นด้วยพันธุ์ไม้ที่มีค่าทางเศรษฐกิจมากมาย เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด ซึ่งราษฎรได้บุกรุกพื้นที่ใช้ในการเพาะปลูก ส่วนใหญ่ทำไร่สับปะรด และเป็นที่อยู่อาศัย ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจที่ กษ 0713(กร)/19 ลงวันที่ 29 มกราคม 2536

กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้เสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2537 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2537 สมควรกำหนดพื้นที่ป่ากุยบุรีให้เป็นอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้จึงได้ดำเนินการเพิกถอนป่ากุยบุรี และดำเนินการประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 แล้ว ประกอบด้วยพื้นที่ทั้งหมด 605,625 ไร่ โดยได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดที่ดินป่ากุยบุรี ในท้องที่ตำบลเขาจ้าว อำเภอปราณบุรี ตำบลศิลาลัย ตำบลศาลาลัย ตำบลไร่เก่า ตำบลไร่ใหม่ อำเภอสามร้อยยอด ตำบลหาดขาม ตำบลสามกระทาย ตำบลกุยบุรี อำเภอกุยบุรี และตำบลบ่อนอก ตำบลอ่าวน้อย ตำบลเกาะหลัก ตำบลคลองวาฬ อำเภอเมืองประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 20ก วันที่ 25 มีนาคม 2542 นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 90 ของประเทศไทย

อัตราค่าบริการเข้าอุทยานแห่งชาติ

  • ชาวไทย : ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท
  • ชาวต่างชาติ : ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท

ที่มาของแหล่งข้อมูล อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

เวลา 5 ชั่วโมง

สำหรับช่วงแห่งความสุข ณ ที่แห่งนี้
[pvc_stats postid="" increase="1" show_views_today="0"]
0
ค่าใช้จ่าย
0
ความประทับใจ
0
สะดวกสบาย
ที่จอดรถ
จอดฟรี
ร้านอาหาร
ไม่มีบริการ
ห้องน้ำ
มีให้บริการ
ปั๊มน้ำมัน
อยู่ไกล
ผู้สูงอายุ
ไม่ค่อยสะดวก
คนพิการ
รองรับ
เด็กเล็ก
รองรับ

โอกาสเป็นของคนที่เฝ้ารอ แต่ถ้ารอด้วยการสร้างความพร้อมให้ตัวเองไปด้วย เมื่อโอกาสมาหา เราก็พร้อมลงมือทำ

ได้เวลา ดูช้างป่า

หลังจากเข้ามาในส่วนของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีแล้วนั้น ร้านอาหาร ร้านสะดวกซื้อไม่มีให้นะครับ จะว่ามีก็ได้คือร้านป้าที่ทำอาหารตามสั่งให้ ถ้าไม่ลืมทานมาก่อนก็สามารถแวะทานได้ ส่วนห้องน้ำก็เข้าให้เป็นที่เรียบร้อย หลังจากที่ขึ้นรถไปแล้ว ด้านในอุทยานไม่มีให้ หรือหาได้ก็ลำบาก ใครที่คิดจะนำรถกระบะส่วนตัวเข้าไปชม เจ้าหน้าที่ไม่อนุญาตนะ สนนราคาเช่ารถกระบะซึ่งเป็นของชาวบ้านเองนั้นสามารถเช่าได้ที่ส่วนของสำนักงาน เป็นราคาเหม่าตกคันละ 850 บาท สามารถนั่งได้ประมาณ 8 คน นั้นหมายความว่าหากเราไป 8 คนก็ตกคนละ 100 กว่าบาท หรือจะไปแบ่งกันจ่ายกับกลุ่มอื่นๆ ที่จะมาขึ้นรถคันเดียวกันเราก็ได้ จะได้ประหยัดเงิน วันที่เราได้ก็ได้เพื่อนร่วมทางอีก 4 คนมีช่วยแบ่งค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ เบาตัวไปอีก

อุทยานแห่งชาติกุยบุรี
อุทยานแห่งชาติกุยบุรี

สำหรับรถแต่ละคันจะมีไกด์ควรแนะนำให้ความรู้ ความเข้าใจตลอดเส้นทาง เป็นน้องๆ จากหมู่บ้านมาช่วยกันทำงานหารายได้พิเศษ น้องจะค่อยอธิบายว่าช้างอยู่กันยังไง วิธีสังเกตุว่าช้างกำลังมา ช้างอยู่ส่วนไหนของป่า ซึ่งทำให้เรารู้ว่าหากเราได้เห็นฝูงนกที่กำลังบินบริเวณไหน แสดงว่าบริเวณนั้นก็จะได้เห็น หรือพบช้างได้ง่าย เป็นการอยู่อาศัยร่ววมกันของสัตว์ อีกวิธีที่ทำให้เราทึ่งกันเลยสำหรับผมคือ การนับจำนวนช้างในอุทยานเขานับกันยังไง ได้รับคำตอบว่าตรวจสอบจาก DNA ของขี้ช้าง ส่วนใครสนใจข้อมูลส่วนนี้สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ ถอดรหัสพันธุกรรม..ช้างไทย หรือข้อมูลจาก ตรวจเลือด “ช้างบ้าน” ไร้ตั๋วรูปพรรณ 63 เชือก

ระหว่างทางเจ้าหน้าที่ก็ชี้เป้าต่างให้เราดูว่า ต้นไม้ที่ล้มนี้ก็คือช้างเขาเดินผ่าน เดินออกมาหากิน จุดนั้น จุดนี้ตลอดเส้นทางส่วนนี้ ส่วนเราเองก็ขยันถาม น้องไกด์ก็พร้อมที่จะให้ข้อมูลด้วยความเต็มใจ เราก็ได้ความรู้เพิ่มเติมเข้าไปอีก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องช้างจะออกหากินในช่วงเย็นและค่ำๆ แล้วกลับบ้านนอนกันยาวๆ ในตอนรุ่งเช้าเราก็ไม่สามารถพบเห็นเขาออกมาหากินได้ นั้นเลยเป็นที่มาของการเข้าชมในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้นึกเลยว่าถ้าหากมีการให้ความรู้กับเรามากเท่าไร นักท่องเที่ยวอย่างเรา ก็สามารถที่จะอิน หรืออาจจะรักพื้นป่าแห่งนี้ตามไปด้วยก็ได้ เข้าใจธรรมชาติเพิ่มเติม เรียนรู้จากสถานการณ์จริง สิ่งแวดล้อมจริง ความทรงจำก็จะจดจำไปนาน หากแต่ว่าจากข้อมูลส่วนมากที่พยายามหาดู ก็จะพบข้อมูลท่องเที่ยว ข้อมูลราชการที่มาที่ไป แต่ไม่มีข้อมูลของธรรมชาติของช้าง ของพื้นป่า ของเจ้าหน้าที่ที่ทำหน้าในดูแลพื้นป่าแห่งนี้ ดูน่าเสียดายเหมือนกัน แล้วถ้าจะถามกับผมว่าข้อมูลที่ต้องการนั้นคืออะไร สำหรับผมเองคงต้องการเพียงอย่างได้รับรู้ว่า วงจรการใช้ชีวิตของช้าง ณ จุดนี้ เขาอยู่กิน อาศัย ใช้ชีวิตอย่างไร อาหารการกินที่ไม่พอเพียงเลยเข้าไปหากินในหมู่บ้าน กินผักพืชสวนไร่นาชาวบ้าน นอกจากช้างมีสัตว์อะไรที่ได้พอเห็นอีกเพิ่มเติม เอาเป็นว่าถ้าใครอย่างพูดคุยเพิ่มเติมกับทางเจ้าหน้าที่ ก็ติดตามทาง Facebook ได้

ขี้ช้าง
ขี้ช้าง

จุดชมช้างป่า กุยบุรี

หลังจากได้ขึ้นรถกระบะทำชม เพื่อตามหาช้างของเรา เจ้าหน้าที่จะพาเราไปยังจุดชมช้างที่ได้กำหนดเอาไว้แล้ว ประมาณ 3 จุดหลักโดยจุดแรกที่เราได้แวะนั้น เป็นส่วนของบ้านพักในอุทยานซึ่งใครจะจองห้องพักมานอนชมดาว ชมช้าง ชมสัตว์ยามกลางคืนได้ยังได้ ณ จุดเหตุนี้จะได้เห็น ศาลช้างที่มีหัวกระโหลกช้างมาวางให้เราได้ชม มีบริเวณสระน้ำขนาดใหญ่ที่ช้างเองนั้นใช้สำหรับดื่น อาบเป็นกิจวัตรของเรา ในวันที่เราเดินทางช่วงนั้นเป็นเวลา บ่าย 2 กว่าๆ เจ้าหน้าที่เล่าให้ฟังว่าแดดยังร้อนอยู่ ช้างจะยังไม่ออกมา เราเองก็ร้อนเช่นกัน ก็ใครมีร่มก็พกร่มมานะ จะมีผ้าปิดจมูกกันฝุ่นจากเวลาที่รถวิ่งพกมาด้วยก็ดีครับ เราพักนะจุดนี้ไม่นาน ก็มรีสายรายงายเข้ามาว่าเห็นช้างลงมาแล้ว 8 เชือก อยู่ที่จุดชมช้างจุดแรกที่เราผ่านมาในตอนแรก เพราะในตอนที่เราผ่านมานั้นยังไม่ปรากฏสัญญาณใดๆ ของเรา เจ้าหน้าที่รีบแจ้งกับเรา พร้อมขึ้นรถกันอย่างรวดเร็ว จากความเร็วภายในอุทยานที่กำหนดว่าให้ใช้ความเร็วไม่เกิน 40 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่กลายเป็นว่าต้องเร็วกลัวเราไม่ได้เก็นช้าง พร้อมทั้งฝุ่นที่เริ่มประทะเข้าที่หน้า เราเองก็ตั้งกล้องถ่ายไปตลอดเวลา จนมารู้ที่หลังว่าหน้าเลนกล้อง Gopro เต็มไปด้วยฝุ่น ไม่ได้เช็ดทำความสะอาดออกก่อนถ่ายต่อ เพราะกำลังตื่นเต้น ส่วนนี้อย่าลืมกันนะ ใครที่พกกล้องไปด้วยแล้วไม่มีระบบกันฝุ่นก็อย่าลืมเก็บรักษาเอาไว้ในกระเป๋า

ดูช้างป่า ที่กุยบุรี
ดูช้างป่า ที่กุยบุรี
ดูช้างป่า ที่กุยบุรี
ดูช้างป่า ที่กุยบุรี

ต้องขอบอกเอาไว้เลย อารมณ์ที่ได้หลังจากที่เราได้เห็นเขาในตอนนี้ มันไม่เหมือนกลับที่เราเห็นในตลาด หรือในถนนที่มีคนเลี้ยงช้างมาขายอ้อย ขายกล้วยให้ช้าง คือได้เห็นความเป็นธรรมชาติ การอยู่กันเป็นครอบครัว มีน้องช้างตัวเล็กๆ เดินทางพ่อและแม่ออกหากิน เจ้าหน้าที่ก็ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่าบ้างวันลงมากันเยอะกว่านี้ก็มี เราก็ใช้เวลาชมไปพอประมาณถ่ายรูปกันให้เต็มที อยู่เงียบๆ นั่งดูการแสดงของช้างพักสมองมองช้างป่า

ดูช้างป่า ที่กุยบุรี
ดูช้างป่า ที่กุยบุรี
ดูช้างป่า ที่กุยบุรี
ดูช้างป่า ที่กุยบุรี

กระทิงกุยบุรี

หลังผ่านช่องเวลาดูครอบครัวช้างแสดงสดในจุดแรกที่เราได้กลับมาแวะชม ก็พร้อมเคลื่อนตัวไปยังจุดชมช้างในจุดถัดไป ในระหว่างทางนั้นเองเจ้าหน้าที่พี่คนขับรถก็จอดพร้อมกับจุดที่เราเห็นนั้นอะไรดำๆ อยู่ด้านซ้ายมือเรา มันคือเจ้ากระทิงตัวใหญ่เอาเรื่องเลยกำลังลงมาดื่นน้พดับกระหายพร้อมฝูงนกอยู่ข้างความสนุกก็อยู่ตรงนี้ละครับ ได้เห็น ได้รับรู้ หรือไม่ได้เห็นอะไรเลย บางครั้งเขาจะมาเป็นฝูงไอ่เราก็แอบอิจฉาคนที่ได้มาในวันเวลานั้นๆ ที่ได้เห็นการมาเป็นฝูง แต่ในวันที่เราได้เห็นตัวเดียวดูเหงาเลย

จากเหตุการณ์ทั้ง 2 ครั้งทำให้เราเริ่มรู้แล้วว่า เรานั้นต้องพร้อม กล้องก็ต้องพร้อม ตั้งค่าต่างๆ รอ พร้อมที่จะหยิบจับ ยกถ่ายได้ตลอดเวลา หากมั่วแต่ก้มหน้าอัพรูปแบบทันเหตุการณ์ลงโซเซียล มีอดเห็นอะไรดีๆ เป็นแน่แท้ ใครมีกล้องส่องทางไกลสามารถพกติดตัวมาได้ยิ่งดี ได้เห้นได้อย่างใกล้ชิด อย่างผมเองก็มีเลนเทเล หรือเลนซูม ก็ได้ภาพใกล้ชิดระดับนึ่ง แต่ Gopro ที่พกติดตัวไปด้วยก็โดนฝุ่นมาปกคุมที่หน้าจอลืมสังเกตุ มีเห็นอีกทีก็ต้องเช็ดให้ไว ไม่งั้นพลาดเก็บภาพวิดีโอมาฝาก

ดูกระทิงที่กุยบุรี
ดูกระทิงที่กุยบุรี
ดูกระทิงที่กุยบุรี
ดูกระทิงที่กุยบุรี

จุดที่ 2 สำหรับชมช้างป่า

จุดนี้เป็นจุดลึกเข้ามาอีกนิดอยู่บริเวญด้านขวามือของเรา หรือเขาเลี้ยวมาด้านขวานะ เป็นบริเวณเปิดกว้าง ไม่มีสิ่งก่อสร้างใดๆ ให้เราแอบแสงแดดอันร้อนแรงของวันนั้นได้ นอกจากเงาขอต้นไม้สูง เราก็ได้พบกันช้างน้อย อีกหนึ่งเชือก จากการคาดการณ์ เดาว่าเจ้าตัวนี้คงเป็นตัวที่ตื่นสาย หรือไม่ก็มั่วแต่แต่งตัวนาน ไปไม่ทันเพื่อน หลงทางอยู่ตามเพื่อน ตามพี่น้องไม่ทัน

ช้างป่ากุยบุรี ช้างน้อย
ช้างป่ากุยบุรี ช้างน้อย

จุดที่ 3 กับเวทีที่เปิดกว้างของป่า

ด้วยพื้นที่ที่เปิดกว้างพร้อมที่นั่งที่ทำเอาไว้รับลองเราให้นั่งพักและพร้อมที่จะดูการแสดงอีกครั้งของช้างป่าครั้งนี้ เป็นพื้นที่ที่กว้างใหญ่สุดลูกหูลูกตาจริงๆ เป็นวิวหรือเวทีที่สวยงามเอาเรื่อง ด้วยวิวระยะที่ใกล้เราจะเป็นฟุ่มไม้สีเขียงประดับหน้าเวที มีฝูงนกวิ่งไปมาให้พอสังเกตุ ถัดออกเป้นเป็นเวที คือพท้นที่เปิดกว้างพร้อมด้วยหญ้าสีเขียว พร้อมฉากหลังที่เป้นป่าอีกชุดและภูเขาที่ทำหน้าที่ของตัวเองอยู่หลังสุดที่ประดับด้วยท้องฟ้าที่ตัดกันกับสีเขียวของป่าพอดี สวยงามเลยละ นั่งเฝ้าดูก็สามารถเห็นช้างเดินไปมา นอกจากภาพที่เห็นก็ยังได้ยินเสียงของเขาที่ร้องออกมาเสียงดัง เหมือนบอกว่ายินดีต้อนรับเข้าสู่เวที ใช้เวลาอีกสักพัก คิดว่ายังไงเราก็จะกลับมาอีก มาดูช้างเพิ่มเติม เพราะได้ข่าวมาว่า หลังเหตุการณ์โควิด19 ที่เกิดขึ้นไม่มีนักท่องเที่ยวไปรบกวน แถมได้พายุลมมรสุมเข้ามาช่วยให้หญ้าได้เขียวและอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ให้ช้าง และกระทิง มีอาหาร น้ำท่าเพิ่มเติม ก็ทำให้จำนวนของเขาออกมาหากินมากยิ่งขึ้น ก็เท่ากับให้ได้มีโอกาสได้พบเห็ยมากขึ้นตาม

เวทีที่เปิดกว้างของป่า
เวทีที่เปิดกว้างของป่า
เวทีที่เปิดกว้างของป่า
เวทีที่เปิดกว้างของป่า

อ่างเก็บน้ำยางชุม

เย็นช่ำยามก่อนค่ำกับอ่างเก็บน้ำยางชุม ใครที่เลือกเส้นทางเหมือนเรา ก็สามารถที่จะแวะข้างทางได้เป็นอ่างเก็บน้ำที่อยู่กลางเส้นทางพอดี จะแวะก่อน หรือหลังก็ได้ ด้วยบริเวณแห่งนี้ จะได้จอดรถพักรับลมเย็นๆ หลังจากที่ต้องไปตากแดดตามหาช้างในช่วงบ่ายที่ผ่านมา “อ่างเก็บน้ำยางชุม” เป็นหนึ่งในโครงการพระราชดำริของในหลวง ร.9 ระยะเวลาก่อสร้าง ครั้งแรก เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2516 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2523 รวมระยะเวลา 8 ปี และได้มีการปรับปรุงก่อสร้างเพิ่มเดิมอีก เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำตามแนวพระราชดำริ เริ่มก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.2546 แล้วเสร็จในปี พ.ศ.2548 รวมระยะเวลา 2 ปี เป็นโครงการชลประทานขนาดกลาง อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของโครงการชลประทานประจวบคีรีขันธ์ ตัวเขื่อนจะเป็นเขื่อนดิน มีระบบส่งน้ำที่ประกอบด้วยคลองส่งน้ำสายต่างๆ จำนวนทั้งสิ้น 4 สาย มีความยาวรวมทั้งหมดประมาณ 27 กิโลเมตร เพื่อเป็นแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ชลประทาน ช่วยบรรเทาอุทกภัยในบริเวณลุ่มน้ำกุยบุรี ช่วยผลักดันน้ำเค็มในคลองกุยบุรีในช่วงฤดูแล้ง

อ่างเก็บน้ำยางชุม กุยบุรี
อ่างเก็บน้ำยางชุม กุยบุรี
อ่างเก็บน้ำยางชุม กุยบุรี
อ่างเก็บน้ำยางชุม กุยบุรี

โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักน้ำของอ่างเก็บน้ำยางชุม อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ได้พระราชทานพระราชดำริ สรุปใจความว่า

ให้พิจารณาการเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำยางชุม ให้สามารถเก็บกักและระบายออกท้ายเขื่อน โดยไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้างเดิม ให้ทำให้เร็วที่สุด เริ่มหลังฝนนี้ ใช้เวลา 2 ปี เสร็จปี 2548 โดยให้ กปร. สนับสนุนงบประมาณเพื่อเริ่มต้นได้เร็ว และให้พิจารณานำน้ำจากอ่างเก็บน้ำ โดยวางท่อนำน้ำไปทำบ่อพักไว้บริเวณที่เป็นเนินและทำระบบกระจายน้ำและนำน้ำไปใช้ประโยชน์
ให้พิจารณาก่อสร้างฝายต้นน้ำ (Check Dam) และสระน้ำขนาดเล็กตามลำห้วยในพื้นที่เหนืออ่างเพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ ซึ่งจะช่วยชะลอน้ำไม่ให้เกิดน้ำท่วม เกิดความชุ่มชื้นและช้างมีน้ำกินด้วย
ให้กองทัพภาคที่ 1 กรมชลประทาน กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และสำนักงาน กปร. ร่วมกันแก้ไขปัญหาผลกระทบของโครงการและช่วยเหลือราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากการก่อสร้าง

อ่างเก็บน้ำยางชุม กุยบุรี
อ่างเก็บน้ำยางชุม กุยบุรี

ขณะนั้นเองที่กำลังเพลินไปกับลนเย็นและแสงสวยของพระอาทิตย์ เสียงที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นมาได้ก็ดังขึ้นมา เสียงท้องร้อน นึกขึ้นมาได้ว่า กำลังจะหาที่ทานข้าวก่อนที่จะไปดูช้างแต่ไปแล้วไม่มีร้านอาหารให้เรารองท้องเลย ได้แต่ขนมที่ติดอยู่ในรถรองท้องไปก่อน เที่ยวจนลืมความหิว แสดงว่าเราเพลินหรือตื่นเต้นไปกับบรรยากาศในครั้งนี้จริงๆ ถึงเวลาแล้วที่ต้องหาอะไรทานจริงๆ จังแล้วละ เพราะระยะทางกลับบ้านก็อีกยาวไกล การเที่ยวครั้งนี้เราได้อะไร เรารู้ได้รู้จักการรอค่อย รอค่อยในสิ่งที่อาจจะไม่ได้เกิดขึ้น รอค่อยจะได้ชมในสิ่งที่รอคอย รอค่อยเพราะรู้ว่ากำลังรออะไร แต่ในโลกปัจจุบันที่เราแถมจะรออะไรไม่ได้ จุดแห่งนี้ก็ถือว่าเป็นจุดที่จะมาชะลอความเร็วของเราในแต่ละวันลงได้ ชะลอที่จะต้องทำอะไรอย่างใจเย็นๆ มองให้รอบด้าน อย่าลืมมาเที่ยวแล้วหาจุดชะลอความเร็วของตัวเองนะ

ข้อมูลติดต่ออุทยาน

เมืองทองเนื้อเก้า มะพร้าวสับปะรด สวยสด หาด เขา ถ้ำ งามล้ำน้ำใจ

ความประทับใจ

  • มีความสนุกต้องที่เราไม่สามารถรู้ได้ว่าเราจะได้เห็ยช้างจำนวนมากน้อยแค่ไหน ทำให้อยากมาอีก
  • นอกจากช้างยังมีสัตว์อื่นให้ชม
  • ไกด์ท้องถิ่นให้ความรู้กับเรา ทำให้เข้าใจธรรมขาติมากยิ่งขึ้น
  • บรรยากาศช้างทางสวยงาม ลงไปถ่ายรูปได้

ข้อควรรู้ และสิ่งที่ต้องทำ

  • รถยนต์ส่วนบุคคลไม่แนะนำให้เข้าไปในบริเวณ
  • ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าและไกด์ท้องถิ่น
  • งดส่งเสียงดัง และขณะถ่ายรูปไม่ต้องเปิดเเฟลช เอาง่ายๆ มันคือกลางวัน ดูดีๆ และปิดด้วยกันลืม
  • ไม่ลงจากรถเมื่อพบเห็นสัตว์ อาจเป็นอันตรายได้
  • แนะนำว่าไปช่วงบ่ายแก่ๆ หรือหลัง 16:00 น.

คำถาม ที่มีคำตอบ

ระยะทางจากกรุงเทพ
0
กิโลเมตร
API key not valid, or not yet activated. If you recently signed up for an account or created this key, please allow up to 30 minutes for key to activate.
*ข้อมูลโดยรวมของจังหวัด

ภาพประทับใจ

ท่องเที่ยวตามภูมิภาค

จุดหมาย ของการท่องเที่ยว

Scroll to Top