ตักบาตรเทโว ในวันออกพรรษา ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี 2563

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

เที่ยวอุทัยธานี ตักบาตรเทโว เริ่มต้นด้วยเป็นการท่องเที่ยวแบบเร่งด่วนแบบไม่ได้มีการจัดการวางแผนก่อนเริ่มต้นเดินทางมากมาย แบบนึกขึ้นมาได้ก็รู้ว่าเป็นวันเสาร์พอดี ที่ตรงกับวันออกพรรษาก็จะมีกิจกรรมทางศาสนาตามสถานที่ต่างๆ มากมายและอีกที่ที่เราสนใจอยู่นั้นคือ อุทัยธานี กับงานตักบาตรเทโว จะไปให้ทันกิจกรรมได้นั้น มี 2 ทางเลือกคือเดินทางไปก่อน หาที่พัก หรือจะเดินทางแต่เช้าตรู่ เพราะระยะทางไม่ได้ไกลมาก เพียง 220 กิโลเมตร แต่เราเลือกที่จะไปก่อน ใช้ช่วงบ่ายของวันศุกร์หาที่พักค้างคืน เช้าก็ค่อยไปตักบาตร

เป็นว่าเราเลือกที่จะเดินทางไปก่อน 1 วัน พร้อมรู้มาว่ามีงาน แสง สี เสียง แสดงให้ดูด้วย นานๆ ทีได้เที่ยวงานประจำจังหวัด เพราะห่างหายไปนาน เริ่มเดินทางในช่วงบ่ายวันตามทางที่ว่างเปล่าในวันที่คนยังไม่ได้เริ่มเที่ยวกันมา ตามปั๊มน้ำมัน คนยังไม่มาก ไม่ต้องแย่งกินแย่งใช้ห้องน้ำมากมาย ถึงแม้ว่าที่ตั้งของจังหวัดอุทัยธานีจะไม่ได้อยู่บนเส้นทางของถนนสายหลัก หรือถนนสายเอเซียที่มุ่งหน้าสู่ภาคเหนือ ก็ไม่ได้เป็นอุปสรรค์อะไร ที่จะทำให้เราจะไม่ต้องแวะมาเที่ยว

ยามค่ำ ณ ​อุทัยธานี
ยามค่ำ ณ ​อุทัยธานี

เดินทางถึงที่พัก เก็บข้าวของ ก็เริ่มหิว แวะทานอาหารแถวที่พัก นั่งริบน้ำยามเย็น เห็นวิวจนลืมไปว่าที่ตัวเมืองมีงานแสง สี เสียง นั่งทานไปเพลินๆ อาหารอร่อยจริง ราคาไม่แพงเหมือนในกรุงที่เราอยู่ นี่ละที่ต้องการกับที่มีชื่อว่า “ร้านป้าสำราญ” ความอร่อยดูได้จากจำนวนรถตู้ท่องเที่ยวที่มาจองเต็มพื้นที่ มีที่นั่งริมน้ำ อย่าลืมดูแลตัวเองด้วย เพราะยุงดุเอาเรื่องหายากันยุงพกติดตัวไปด้วย หากไม่มีติดตัวไป ถามทางร้านได้  ท้องเริ่มอิ่ม ได้สติ เข้าตัวเมืองดูงานดีกว่า

การแสดง แสง-สี-เสียง ที่ อุทัยธานี

งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี

ได้เวลาแวะเข้าในตัวเมืองสักหน่อย อร่อยจนลืมโดยงานแสง สี เสียงนั้นจัดขึ้นในบริเวณวัดสังกัสรัตนคีรี แต่เวลาเรามองดูตามป้ายจราจรที่แสดงบอกทางจะเขียนว่าวัดสังกัส เท่านั้นให้เข้าใจว่าคือวัดเดียวกันนะ มีสถานที่จอดรถพอเพียง แต่นะครับ พื้นที่เหล่านั้นเปียกไปด้วยฝน จอดรถได้แต่เดินลงจากรถไม่ได้ ก็ต้องวนอยู่สักพัก ได้ทีก็เริ่มเข้าไปในตัวงาน ที่ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือส่วนเวทีการแสดง และมีตลาดนัดแบบเบาๆ ที่มีของกินของใช้มาขาย ในราคาไม่แรง ให้กินชิมกับอาหาร ขนมมากมาย เราไปถึงช่วงท้ายชองการแสดง ก็พอได้เก็บบรรยากาศมาให้ชมพองาน สำหรับคนที่อยากลงถ่ายภาพกลางคืน ก็ต้องปรับกล้องตัวเองให้พร้อมด้วยนะ อุปกรณ์พร้อมก็เริ่มถ่าย และอย่าลืมว่าทำตัวเป็นทั้งนักท่องเที่ยว และเป็นช่สงภาพไปในตัว ช่างมีจะมีอภิสิทธิ์อยู่อย่าง คือเราสามารถพูดคุยกับตัวแบบของเราได้ ให้เขายิ้ม ชวนคุุย ให้ตัวแบบรู้สึกสบายใจ เราจะได้ภาพที่ดูมีความสุขมากยิ่งขึ้น

งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี
งานแสง สี เสียง อุทัยธานี

เมื่อสนุกจากงานแสง สีเสียงแล้ว รู้มาว่าเราสามารถขึ้นไปด้านบนก็ได้ และจากด้านบนนั้นจะทำให้เราสามารถเห็นวิวตัวเมืองอุทุยธานีได้จากมุมสูง จะรออะไรละครับ รู้อยู่แล้วว่าเราต้องขึ้นรถนะครับ ให้เดินขึ้นในตอนนี้คงไม่ได้ สู่ยอดเขาสะแกกรัง ด้านบน กับวิวยามค่ำคืนที่มีให้เลือกถ่ายภาพมากมาย

วิวมุมสูงตัวเมือง อุทัยธานี จาก วัดสังกัสรัตนคีรี
วิวมุมสูงตัวเมือง อุทัยธานี จาก วัดสังกัสรัตนคีรี

ประวัติตักบาตรเทโว

เที่ยวอุทัยธานี ตักบาตรเทโว กับ 3 สถานทีสำหรับคนมีเวลาน้อย
เที่ยวอุทัยธานี ตักบาตรเทโว กับ 3 สถานทีสำหรับคนมีเวลาน้อย

รับอรุณรุ่งวันใหม่จากมุมที่พักริมน้ำ เช้านี้เราตื่นตั้งแต่เวลา 6 โมงเช้า เพราะตัวเตรียมตัว ไปหาซื้อของสำหรับตักยาตรในครั้งนี้ ก่อนจะไปต่อมาเล่าประวัติของการตักบาตรเทโวหันสักหน่อยนะ

ตักบาตรเทโว หมายถึงการทำบุญตักบาตร ปรารภเหตุที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากเทวโลก ในวันมหาปวารณา (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11) เทโวโรหณะ แปลว่า การเสด็จลงจากเทวโลก (ของพระพุทธเจ้า) เป็นเหตุการณ์ตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า คือในพรรษาที่ 7 ได้เสด็จขึ้นไปจำพรรษาบนเทวโลกคือบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อแสดงธรรมโปรดพุทธมารดา ครั้นถึงวันมหาปวารณา เสด็จลงจากเทวโลกในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ตำนานเล่าว่า พระอินทร์ทรงนิมิตบันได 3 อย่างถวาย คือ บันไดทอง บันไดแก้วมณี บันไดเงิน หัวบันไดพาดอยู่ที่ยอดเขาสิเนรุ เชิงบันไดอยู่ที่ประตูเมืองสังกัสสนคร เวลาเสด็จลงทรงใช้บันไดแก้วมณี เหล่าเทวดาลงทางบันไดทอง เหล่ามหาพรหมลงทางบันไดเงิน เรียกการเสด็จครั้งนั้นว่า เทโวโรหณะ จากเหารณ์ใน พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชนอยู่เป็นประจำ ณ นครสาวัตถี จนมีประชาชนจำนวนมากหันมาเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา จึงเป็นเหตุทำให้เหล่าเดียรถีย์เสื่อมลง (เดียรถีย์ หมายถึง นักบวชประเภทหนึ่งมีมาก่อนพระพุทธศาสนาและเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธศาสนาอย่างยิ่ง มีพุทธบัญญัติว่า หากเดียรถีย์จะมาขอบวชในพระพุทธศาสนาต้องมารับการฝึก เพื่อตรวจสอบว่ามีความเลื่อมใสแน่นอนเสียก่อน เรียกว่า ติตถิยปริวาส) พวกเดียรถีย์เดือดร้อนจึงคิดหาวิธีที่จะทำลายพระพุทธศาสนาโดยการกล่าวร้ายพระพุทธเจ้า สาวก แต่ประชาชนก็ยังเลื่อมใสศรัทธาเหมือนเคย ในที่สุดเดียรถีย์จึงใช้อุบายทำลายพระพุทธศาสนาโดยการใช้พุทธบัญญัติที่ว่า “พระพุทธเจ้าและเหล่าสาวกสิ้นท่าหมดอิทธิฤทธิ์ แล้วงดการแสดง ตรงข้ามกับเหล่าคณาจารย์เดียรถีย์ ซึ่งมีปาฏิหาริย์อบรมมั่นคงเต็มที่และมีความพร้อมที่จะแสดงให้เห็นได้ทุกเมื่อ ถ้าไม่เชื่อก็เชิญพระพุทธเจ้ามาแสดงปาฏิหาริย์แข่งกันก็ย่อมได้ เพื่อพิสูจน์ว่าใครจะเก่งกว่าใคร“

ฝ่ายพระพุทธเจ้าและสาวกก็เงียบเฉย เดียรถีย์จึงกล่าวร้ายหนักอีกว่า “พระพุทธเจ้าไม่มีความสามารถในการแสดงอิทธิฤทธิ์” เมื่อพระพุทธเจ้าทรงทราบจึงคิดใคร่ครวญและตัดสินใจที่จะแสดงปาฏิหาริย์ให้พวกเดียรถีย์ได้ประจักษ์เพื่อไม่ให้พระพุทธศาสนาโดนย่ำยี โดยพระองค์ได้ประกาศว่าจะแสดงยมกปาฏิหาริย์ ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8 ณ ใต้ต้นมะม่วง เมื่อฝ่ายเดียรถีย์รู้ ความดังนั้นจึงแบ่งพวกให้ไปทำลายต้นมะม่วงทุกต้นในเมืองสาวัตถี อีกพวกก็ช่วยกันสร้างมณฑปเพื่อแสดงปาฏิหาริย์ของตน และประกาศให้ประชาชนมาชมความล้มเหลวของพระพุทธองค์ เมื่อถึงกำหนดก็เกิดพายุใหญ่ทำให้มณฑปของเดียรถีย์พังหมดสิ้นส่วนพระพุทธเจ้ายังมิได้แสดงปาฏิหาริย์แต่อย่างใด

ในวันนั้นเอง คนเฝ้าพระราชอุทยานของพระเจ้าปเสนทิโกศล ชื่อว่า นายคัณฑะ ได้ถวายมะม่วงผลหนึ่งแก่พระพุทธเจ้าเนื่องจากมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธองค์ พระพุทธองค์จึงสั่งให้พระอานนท์นำมะม่วงไปทำน้ำปานะ (ปานะ หมายถึง น้ำ ของสำหรับดื่ม) มาถวายและเอาเมล็ดมะม่วงวางบนดิน เมื่อทรงฉันน้ำปานะเสร็จ ก็ทรงล้างพระหัตถ์โดยให้น้ำรดลงบนเมล็ดมะม่วง ทันใดนั้นเอง ก็กลายเป็นต้นมะม่วงที่งอกเงยขึ้นมาและต้นใหญ่ หลังจากนั้นพระพุทธเจ้าก็แสดงปาฏิหาริย์เนรมิตช่อไฟ ช่อน้ำเนรมิต บุคคลที่เหมือนพระองค์ทุกประการ ทรงแสดงธรรม จงกรม พระพุทธนิมิตให้ประชาชนได้ประจักษ์แก่สายตาจึงเกิดความเลื่อมใสศรัทธาโดยทั่วกัน

วันรุ่งขึ้นเป็นวันเข้าพรรษา พระองค์ประกาศว่าจะไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์เพื่อเทศนาโปรดเทพบุตร อดีตพระนางสิริมหามายา พระพุทธมารดา เพื่อเป็นการสนองพระคุณ ดังนั้นพระองค์จึงได้เทศนาพระอภิธรรมปิฎกโปรดพระพุทธมารดาในช่วงเข้าพรรษา 3 เดือน เมื่อถึงวันออกพรรษาพระพุทธองค์จึงเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ทางประตูเมืองสังกัสสนคร เป็นการลงจากเทวโลก (เทโวโรหณะ) เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาในวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 11 แล้ว ในวันรุ่งขึ้น (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11) ประชาชนต่างพร้อมใจกันมารับเสด็จและนำอาหารมาเพื่อทำบุญตักบาตรเป็นจำนวนมาก ประชาชนบางพวกอยู่ห่างไม่สามารถที่จะถวายอาหารใส่ลงบาตรได้ จึงนำข้าวสาลีมาปั้นเป็นก้อนแล้วโยนใส่ลงในบาตร จนกลายมาเป็นประเพณีนิยมที่ว่าจะต้องทำข้าวต้มลูกโยนซึ่งเป็นข้าวเหนียวห่อด้วยใบมะพร้าวไว้หางยาวเพื่อไว้ใส่บาตรในวันเทโวโรหณะ

*ข้อมูลจาก wikipedia.org

เวลา 5 ชั่วโมง

สำหรับช่วงแห่งความสุข ณ ที่แห่งนี้

Loading

ค่าใช้จ่าย
ความประทับใจ
สะดวกสบาย
ที่จอดรถ
จอดฟรี
ร้านอาหาร
มีให้บริการ
ห้องน้ำ
มีให้บริการ
ปั๊มน้ำมัน
อยู่ใกล้เคียง
ผู้สูงอายุ
รองรับ
คนพิการ
รองรับ
เด็กเล็ก
รองรับ

บุญเกิดจากการให้ หากใจของเรานั้นให้ เราก็ย่อมได้บุญ

ประวัติ วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี

ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี

วัดสังกัสรัตนคีรี เป็นวัดเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2443 เดิมมีชื่อเรียกว่า “วัดเขาสะแกกรัง” ตั้งอยู่เชิงเขาสะแกกรัง สุดถนนท่าช้าง ในเขตเทศบาลเมืองอุทัยธานี เป็นวัดที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั่วไป ในเรื่องประเพณีตักบาตรเทโว ที่จัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ของทุกปี ถือเป็นประเพณีสำคัญของจังหวัดอุทัยธานี ภายในวัดสังกัสรัตนคีรี ยังประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง “พระพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์” พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยที่มีพุทธลักษณะงดงาม สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยพญาลิไท มีอายุประมาณ 600 – 700 ปี ที่ได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย เดิมทีประดิษฐานอยู่เบื้องหน้าพระประธานในวิหารวัดขวิด ริมแม่น้ำสะแกกรังฝั่งตะวันตก ครั้นเมื่อเจ้าประคุณสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) เดินทางมาตรวจเยี่ยมวัดและเห็นพระพุทธรูป จึงโปรดให้อัญเชิญหลวงพ่อพุทธมงคลศักดิ์สิทธิ์ มาประดิษฐานที่วัดสังกัสรัตนคีรี และได้มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุภายในพระเศียรของหลวงพ่อ

เพิ่มเติมกันอีกนิด หมู่บ้านสะแกกรัง สมัยสุโขทัย เรียกว่าอู่ไทย หมายถึงที่อยู่ของคนไทย เป็นเมืองหน้าด่านสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นสมรภูมิสำคัญในการขับไล่พม่าสมัยกรุงธนบุรี ย้ายเมืองอู่ไทยมาไว้ที่ที่บ้านสะแกกรัง จนกลายเป็นชุมชนเติบโตถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2335 – 2342 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้นำพระพุทธรูปขนาดย่อมที่ชำรุดไปไว้ตามหัวเมืองต่างๆ เมืองอุทัยธานีได้รับ 3 องค์ พระพุทธรูป องค์ที่ 1 นำมาประดิษฐานไว้ที่วัดขวิด เป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่เป็นพระเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 3 ศอก สร้างในสมัยพระมหาธรรมราชาที่ 1 ฝีมือช่างสุโขทัยยุค 2 มีส่วนเศียรกับส่วนองค์พระเป็นคนละองค์ เข้าใจว่าคงซ่อมเป็นองค์เดียวกันก่อนนำมาไว้ที่เมืองอุทัยธานี

สำหรับใครไม่ได้เตรียมข้าวปลา อาหารต่างๆ สำหรับนำมาใส่บาตรในวันทำบุญอย่างเรา ก็สามารถซื้อหาได้ที่ด้านหน้าวัด ไม่ว่าจะเป็นข้าวต้มมัด ลูกโยน ที่โยนเพราะว่ามีจำนวนผู้ที่มาร่วมงานเป็นจำนวนมาก แล้วไม่สามารถเข้าถึงตัวพระได้จึงใช้การโยนข้าวต้มให้ลงไปที่บาตรพระ เอาจริงสิ จริงครับ แต่ครั้งนี้ไม่ต้องแล้ว เพราะทางเจ้าหน้าที่ได้จัดเตรียมโต๊ะเอาไว้มากเพียงพอ ไม่ต้อจับจองเป็นของตัวเอง (แต่ความจริงมีผู้จับจองที่เป็นของตัวเองเอาไว้พอสมควรเห็นแล้วดูไม่งามเอาซะเลย มาทำบุญก็ต้องจับจองกันอย่างนี้เลย แต่พอถึงเวลาจริง ก็แบ่งๆ กันนะน่ารักเลย เราคิดมากไปเท่านั้นเอง)

ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี

ข้าวต้มลูกโยน หรือจะเรียกว่า ข้าวต้มหาง ลักษณะคล้ายข้าวต้มมัดแต่มีขนาดเล็กกว่าอีกทั้งในรูปแบบการห่อมีเอกลักษณ์โดดเด่นโดยจะไว้หางยาวเพื่อความสะดวกในการใส่บาตร ข้าวต้มที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำมาจากข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ถั่วดำ ผสมน้ำตาลทรายและเกลือ แล้วนำมาห่อด้วยใบเตย หรือใบมะพร้าวอ่อน

ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี

ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี

เมื่อถึงเวลาพระท่านจะเริ่มบทสวด บรรกาศในตอนนั้นเริ่มเงียบลง เสียงพูดคุย พูดเล่นก็หยุดพร้อมพนมมือสวดมนต์ไปพร้อมๆ กัน ณ บันไดทางขึ้นสู่เจดีย์วัดด้านบน ได้ถูกเปลี่ยนเป็นเสมือยบันได้จากสวรรค์ที่พระพุทธเจ้าจะเสด็จลงมา เราจะเริ่มเห็นน้องๆ เด็กสาวตัวเล็กที่ได้แต่งตัวกันเป็นนางฟ้าที่จะค่อยรับเสด็จที่ทะลอยขึ้นบันได้ไปแต่ละขั้น โดนแต่ละคนนั้นก็แต่งตัวกันดูน่ารัก และสวยงามแบบไทยของเราจริงๆ สิ่งที่ทำให้เรารู้อีกอย่างคือ ข้อมูล ที่ไม่มีอะไรเด่นชัด หรือชัดเจน เรื่องกำหนดเวลา หรือเราเองนั้นไม่หาข้อมูลมากพอก็ไม่รู้ว่าการตักบาตรจะเริ่มกี่โมงยามวันก่อนก็ได้ถามชาวบ้าน ก็ได้ข้อมูลแตกต่างกันไป จนเราได้คำตอบในวันที่เราได้ไปมาคือ ว่า เวลาที่จะเริ่มให้ใส่บาตรได้นั้นจะเริ่ม เวลา 8:30 น. พระท่านจะเริ่มเดิมลงมาสู่ด้านล่าง ให้เราได้เริ่มใส่บาตรได้ นั้นหมายความว่าหากจะมาให้ทันเวลาก็ต้องมาก่อน เวลา กะเวลาหาที่จองรถ ซื้อของใส่บาตร ส่วนโต๊ะที่รอใส่บาตรนั้นก็แล้วแต่สะดวกเลยครับ มีเพียงพอ

ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
ตักบาตรเทโว ที่วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี

สายตาทุกคู่เริ่มมองบนที่ปลายยอดเจดีย์ที่ตั้งอยู่ด้านบน เริ่มรู้ตัวกันแล้วว่าใกล้เวลาที่จะได้ทำบุญกันแล้ว ผมเองก็คิดว่า หากใครที่ชอบถ่ายรูปก็ต้องดูช่างภาพคนอื่นๆ ด้วยนะครับ แบ่งๆ กันถ่ายได้ภาพที่ต้องการแล้วก็เปลี่ยนมุมถ่ายไปจุดอื่นต่อ สำหรับมือใหม่หัดตักบาตรเทโวอย่างผม ที่วัดแห่งนี้ได้แบ่งสายของการตักบาตรของเรานั้นเป็นทั้งหมด 8-9 สาย พระสงฆ์ทุกรูปที่จำพรรษาในเขตอำเภอเมืองอุทัยธานีประมาณ 300-400 รูป จะเริ่มออกรับบิณฑบาตโดยเดินลงบันไดจากยอดเขาสะแกกรัง โดยมีการเดินนำด้วยพระพุทธรูปปางเสด็จจากดาวดึงส์ลงมารับบิณฑบาต โดยสมมติว่ามณฑปบนยอดเขาสะแกกรังเป็น “สิริมหามายากูฎคาร” ที่พระพุทธเจ้าทรงเทศน์โปรดมารดา แล้วเสด็จกลับสู่โลกมนุษย์ลงบันได 449 ขั้น จำนวนบันไดจากข้อมูลจากหลายๆ ที่ บางที่ก็แจ้งว่า 339 ขั้น แต่ไม่เป็นไร ไม่ใช่ประเด็น เพราะเรามาทำบุญ ซึ่งถือเป็นบันไดแก้ว สิ่งที่ได้รู้คือของที่เราได้เตรียมมาตักบาตรนั้นแต่ละคนก็เตรียมกันมาเต็มที่ เต็มโต๊ะ แต่ในช่วงที่พระท่าเริ่มเดินรับของที่เราได้เตรียมมานั้น ท่านต้องเดินเร็วเพราะด้วยจำนวนของคนที่มาร่วมงานครั้งนี้เยอะมา ความเร็วต่อสิ่งของที่มีต้องให้ความเร็วที่เพียงพอ ส่งผลให้ของที่นำมาตักบาตรไม่สามารถใส่ลงบาตรได้ทันตามจังหวะที่พระท่านเดิน ไม่ต้องเป็นห่วงครับ ไม่ทับก็พอเดินตามไปยังจุกที่ท่านยังเดินไม่ถึงได้ พอขอแบ่งๆ ที่ทางใส่บาตรได้ ไม่ต้องรีบ เพราะทั่วถึงกันทุกคน น้องผู้ชายก็พร้อมช่วยเหลือ เมื่อของเต็มบาตรก็หยิบใส่ถุง พร้อมให้บาตรของพระท่านว่างที่พร้อมรับของใส่บาตรต่อไป

เสร็จสิ้นภารกิจยามเช้า ใส่บาตรทำบุญอิ่มอกอิ่มใจ แต่ไม่อิ่มท้องเพราะเริ่มหิว กลับเข้าที่พักทานอาหารเช้า อาบน้ำเตรียมตัวเดินทางต่อสู่ที่หมายของเราต่อไป เพราะเรายังมีเวลาช่วงบ่ายของวัน การเดินทางแบบเร่งด่วนผมว่าได้สร้างความประทับใจให้กับเราในหลายๆ รูปแบบกันมากมาย ลองกลับไปนึกกันดูว่าเราเคยทำอะไรแบบนี้บ้าง ถ้านัดหมายวางแผนกันมากไป เราก็ยังไม่ได้ไปสักที นึกได้จัดของออกเดินทางแบบนี้ได้เที่ยวสมใจ ด้วยยุดสมัยของข้อมูลที่มีมากมาย หลากหลายมุมมองของการท่องเที่ยว มีให้เราได้ค้นหาสะดวกมากยิ่งขึ้น เป็นอันว่าไปไหน ไปกันได้หมด

เบอร์โทรศัพท์สำคัญ เบอร์โทร
กทท. สำนักงานอุทัยธานี 0 5651 4651-2
ประชาสัมพันธ์จังหวัดอุทัยธานี 0 5651 1915
สถานีขนส่งจังหวัดอุทัยธานี 0 5651 1914
โรงพยาบาลอุทัยธานี 0 5651 1081
สถานีตำรวจ 0 5651 1055
ตำรวจท่องเที่ยวนครสวรรค์ 0 5623 3073
สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว 06 4656 9592

อุทัยธานี เมืองพระชนกจักรี ปลาแรดรสดี ประเพณีเทโว ส้มโอบ้านน้ำตก มรดกโลกห้วยขาแข้ง แหล่งต้นน้ำสะแกกรัง ตลาดนัดดังโคกระบือ

ความประทับใจ

  • น้ำใจ มิตรไมตรีมีอยู่จริง ในทุกเส้นทาง
  • ราคาอาหาร และค่าใช้จ่าย ไม่มีการเอาเปรียบนักท่องเที่ยว
  • ทุกคนยินดีต้อนรับนักท่องเที่ยว
  • การเดินทางสะดวก สบาย

ข้อควรรู้ และสิ่งที่ต้องทำ

  • ที่จอดรถมีเพียงพอ แต่หากฝนตก ก็จะลำบากกันหน่อย
  • ไม่ได้เตรียมข้าวปลา อาหารมาตักบาตร ด้านหน้างานมีให้เลือกซื้อ
  • โต๊ะตักบาตรมีพอเพียงไม่ต้องจอง หรือแย่งกัน แต่อาจจะมีบ้างที่ทำอย่างนั้น ทำใจ
  • มีจุดให้ตักบาตรได้ก่อน สำหรับคนที่เตรียมอาหารสดมา

คำถาม ที่มีคำตอบ

ระยะทางจากกรุงเทพ
กิโลเมตร
0
*ข้อมูลโดยรวมของจังหวัด

ภาพประทับใจ

ท่องเที่ยวตามภูมิภาค

จุดหมาย ของการท่องเที่ยว

Scroll to Top