เกาะสีชัง ให้รางวัลกับสุขภาพด้วย 9 จุดเช็คอิน ตอนที่ 1

Facebook
Twitter
LinkedIn
Pinterest

เกาะสีชัง ไม่ได้ให้ชังเหมือนชื่อนะ เกาะที่เราสามารถเที่ยวได้ทั่วเกาะด้วยการเช่ามอเตอร์ไซต์แล้วขับวิ่งวนรอบเกาะ ชมจุดสวยงามมากมาย ชมพระอาทิตย์ตกน้ำ ไหว้พระ ชิมอาหาร รับลมทะเล ตกปลา เล่นน้ำ มาแล้วจบ ครบทุกอย่างจริง อีก 1 ที่เที่ยวชลบุรี

วิวจากเรือโดยสาร ไปเกาะสีชัง
วิวจากเรือโดยสาร ไปเกาะสีชัง

ประวัติ เกาะสีชัง

เกาะสีชังเป็นเกาะขนาดเล็กที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์เกาะหนึ่งของประเทศไทยเนื่องจากเคยเป็นสถานที่เสด็จประพาสและเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดินของกรุงรัตนโกสินทร์ถึง ๓ พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๔ ) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๕) และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่ ๖ ) เคยเป็นสถานที่ที่ทรงใช้เป็นที่บริหารพระราชกรณียกิจที่สำคัญๆ ในการปกครองประเทศบ้านเมืองมาระยะหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทั้งได้เคยเป็นที่พักอาศัยประชุมกันและ ดำเนินกิจการของหมู่อำมาตย์ข้าราชบริพาร ระดับผู้ใหญ่ชั้นพระบรมวงศานุวงศ์ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ประสูติพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ เมื่อวันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๓๕ และสร้างพระจุฑาธุชราชฐาน ณ เกาะแห่งนี้อีกด้วยซึ่งทำให้เกาะสีชังเป็นเพียงเกาะเดียวในประเทศไทยที่มีพระราชวังหรือเขตพระราชฐานตั้งอยู่ที่เกาะสีชังนี้

จากประวัติศาสตร์เกาะสีชังได้กล่าวไว้ว่า เป็นท้องที่อำนวยสุขภาพและบำรุงอนามัยได้เป็นอย่างดี ในสมัยรัชกาลที่ ๕ หรือเกินกว่านั้นขึ้นไป เกาะสีชังเป็นถิ่นที่พักตากอากาศ เป็นดินแดนคนชาวกรุงพากันมาพักรักษาตัวเมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย เช่น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ เมื่อครั้งยังทรงพระเยาว์ และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถก็เคยเสด็จประทับที่เกาะสีชังนี้เพื่อทรงตากอากาศและเยียวยาพระโรคาพยาธิ ก็ปรากฏว่าทรงหายเป็นปกติ

ที่มาเขาชื่อนะเยอะมาก เรื่องราวที่เกี่ยวกับชื่อของเกาะสีชังนั้น เป็นภาษาที่ถือเอาความหมายได้ยากยิ่ง แม้แต่ปราชญ์ทางภาษาก็เพียงแต่ตั้งข้อสันนิษฐานถึงความหมายและที่มาของคำว่า “สีชัง” ไว้ดังนี้

สีชัง เป็นภาษาของชนชาติหนึ่งที่เป็นชนเผ่าของเขมร เรียกว่า สำแล โดยอาศัยหลักชาติพันธุ์วิทยาเป็นข้อสันนิษฐานเท่านั้น และไม่ทราบความหมายที่แท้จริง

สีชัง มาจากภาษาจีน คือ ซีซัน ซึ่งหมายถึง สี่คนทำไร่ โดยมีเรื่องราวเล่าว่ามีพ่อค้าเรือสำเภาจีน ๔ นายล่องเรือค้าขายมาถึงเกาะแห่งหนึ่ง เกิดความรู้สึกเบื่อหน่ายในธุรกิจการค้ามาตั้งรกรากและหันมาประกอบอาชีพทำไร่อยู่บนเกาะ ซึ่งต่อมาคำว่า “ซีซัน” จึงแผลงมาเป็น “สีชัง”

สีชัง มาจากคำว่า “สีห์ชงฆ์” ซึ่งหมายถึง แข้งสิงห์ เพราะเกาะนี้มีรูปร่างคล้ายแข้งสิงห์

สีชัง มีตำนานเชื่อว่า ฤๅษีองค์หนึ่งเกิดเบื่อหน่ายโลกีย์วิสัย มาพำนักบำเพ็ญพรต จนมีชื่อเสียงเป็นที่เคารพนับถือชาวบ้าน ต่อมาจึงเรียกเกาะนี้ว่า “เกาะฤษีชัง”

ที่มาของข้อมูล เทศบาลเกาะสีชัง

การเดินทาง จุดหมาย

ให้ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์หากวิ่งหรือเริ่มเดินทางจากกรุงเทพนะครับ วิ่งมุ่งหน้าสู่ท่าเรือไปเกาะสีชัง ใช้คำนี้ในการค้นหาเส้นทางในการเดินทางได้เลย หรือจะเปิดใช้งานจากแผนที่ที่เราได้เตรียมเอาไว้ให้แล้วก็ได้ครับ พร้อมจุดพักผ่อนท่องเที่ยวได้เตรียมเอาไว้ให้แล้ว เมื่อมาถึงท่าเรือในส่วนของที่จอดรถก็มีทั้งฟรีและเสียค่าใช้จ่าย ในส่วนการจอดฟรีก็สามารถหาที่ว่างจอดแถวๆ ท่าเรือหรือบริเวณสะพานเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรีได้เลย แต่ควรจอดให้ไม่กีดขว้างคนอื่นนะครับเพราะถ้าเราไปเที่ยวแบบพักค้างคืน คนอื่นเขาจะลำบากเอา

บ้านเกาะขามใหญ่
บ้านเกาะขามใหญ่

เสร็จสิ้นเรื่องการจอดเราก็มาจับจองที่นั่งบนเรือ โดยเรือโดยสารจะมีค่าโดยสารคนละ 50 บาท เรือออกทุกชั่วโมง หรือหากไปในช่วงเริ่มไม่ม่ผู้โดยสารแล้ว เรือก็จะออกเลยไม่ต้องรอนาน เรือเที่ยวสุดท้ายคือเวลา 20:00น. แต่ราคาค่าโดยสารเป็น 60 บาท และสามารถเหมาลำได้

ราคาเหมาลำ ไม่เกิน 60 คน อยู่ที่ 5,500 บาท / ลำ
ราคาเหมาลำ ไม่เกิน 100 คน อยู่ที่ 8,000 บาท / ลำ

วิวระหว่างทาง ก่อนถึงเกาะสีชัง
วิวระหว่างทาง ก่อนถึงเกาะสีชัง

การโดยสารบนเรือใช้เวลาประมาณ 45 นาทีครับ เรือจะแวะจุดเดียวที่บ้านเกาะขามใหญ่

ระหว่างเส้นทางที่เราผ่านจะเห็นเรือสินค้ามากมาย ลำใหญ่ๆ ทั้งนั้น จุดถ่ายสินค้ามองดูไกลๆ เหมือนในหนังแบบอวกาศเลย ถ้ามียานบินขึ้นลงนะใช่เลยนะครับ

วิวข้างทาง จากบนเรือโดยสาร
วิวข้างทาง จากบนเรือโดยสาร
วิวประภาคาร บนเกาะสีชัง
วิวประภาคาร บนเกาะสีชัง

สิ่งจำเป็นที่ต้องทำ เมื่อมาถึงเกาะ

เพื่อความสะดวกสำหรับการเดินทางบนเกาะสีชัง เราได้เช่าบริการรถมอเตอร์ไซต์ 24 ชั่วโมงพร้อมน้ำมันฟรี เป็นราคา 300 บาท ร้านที่ให้บริการเช่ามอเตอร์ไซด์มีอยู่หลายเจ้าเหมือนกัน ซึ่งได้ยินว่าหากในวันที่มีคนมาเที่ยวเยอะมอเตอร์ไซต์อาจจะมีให้บริการไม่พอเพียง ณ จุดขึ้นเรือก็มีห้องน้ำให้บริการนะครับ

แต่ใช่ว่าจะมีแค่มอเตอร์ไซต์ที่ให้บริการ รถสามล้อเครื่องก็มีให้บริการด้วย ในกรณีที่พักไม่มีรถมารับ ราคาอยู่ก็ 60-70 บาทต่อคัน นั่งได้ไม่เกิน 6 คน ส่วนราคาเหมาพาเที่ยวรอบเกาะอยู่ที่ราคา 500 บาท พาชม 5 จุดท่องเที่ยว

รถเช่า ประจำการสำหรับ เกาะสีชัง
รถเช่า ประจำการสำหรับ เกาะสีชัง

เวลา 48 ชั่วโมง

สำหรับช่วงแห่งความสุข ณ ที่แห่งนี้
[pvc_stats postid="" increase="1" show_views_today="0"]
0
ค่าใช้จ่าย
0
ความประทับใจ
0
สะดวกสบาย
ที่จอดรถ
จอดฟรี
ร้านอาหาร
มีให้บริการ
ห้องน้ำ
มีให้บริการ
ปั๊มน้ำมัน
อยู่ใกล้เคียง
ผู้สูงอายุ
รองรับ
คนพิการ
รองรับ
เด็กเล็ก
รองรับ

หากจะมีรัก ก็ให้รัก อย่างได้มาชังกัน เพราะไม่ได้รักเลย

จุดที่ 1 สะพานอัษฎางค์

หากใครเดินทางมาช่วงบ่ายเหมือนเรา จุดแรกหลังจากเช็คอินที่พักเป็นที่เรียบร้อย ก็แนะนำเลยครับ มาเดินเบาๆ รับลมไปก่อน สถานที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันออกของพระราชวังพระจุฑาธุชราชฐาน เดินถ่ายรูปในบริเวณสถานที่แห่งนี้ แบบดูๆไปรอบๆไว้ก่อน เดียวพรุ่งนี้แวะมาเก็บตกอีกครั้งก็ยังได้นะครับ มี่ที่จอดรถให้สะดวกสบาย ด้วย สะพานเป็นสะพานไม้ที่ทอดตัวออดไปในทะเล จะเห็นผู้คนมากมายจะมายังจุดนี้ แต่ลืมบอกไปว่าบริเวณทางเข้ามา มีพิพิธภัณฑ์ชลทัศนสถานที่มีสัตว์น้ำต่างๆ ให้เราดู สะพานอัษฎางค์…สะพานแห่งรัก เชื่อมคุณค่า จากอดีตสู่ปัจจุบัน จากพระอาการของประชวรของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ เพราะกรุงเทพมหานครเวลากลางวันอากาศร้อนกว่าที่เกาะสีชังมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่าพระอาการที่ดีขึ้นเกือบหายปกติจะกลับมาทรุดลงอีก จึงมีความจำเป็นที่ต้องเสด็จพระราชดำเนินออกมาประทับที่เกาะสีชังอีก นับเป็นการเสด็จฯ ประพาสครั้งที่ 3 จึงเป็นโอกาสดีที่ได้เสด็จพระราชดำเนินประพาสในที่ต่างๆ และทรงพระราชดำริทำนุบำรุงเกาะสีชังให้เจริญยิ่งขึ้น เพื่อราษฎรได้เป็นสุขสำราญ เป็นต้นว่า ที่เกาะสีชัง เวลาน้ำแห้งลงเรือเข้าจอดไม่ได้ถึงชายหาด ต้องเดินลุยน้ำขึ้นลงเป็นที่ลำบาก บางครั้งถูกกาบหอยบาดได้รับบาดเจ็บ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานที่บริเวณชายทะเลด้านทิศตะวันออกของพระราชวังในปัจจุบันนี้ โดยพระราชทานชื่อว่า “สะพานอัษฎางค์”

นับเป็น 1 ใน 5 สิ่งก่อสร้างที่พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นที่เกาะสีชังใน พ.ศ. 2434 ได้แก่ วัด สะพาน บ่อน้ำ ประภาคาร และเสาธง ซึ่งพระราชทานนามสถานที่ต่างๆ เหล่านี้ ตามพระนามของพระราชโอรส คือ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ โดยมีพิธีเปิดและพระราชทานนาม ในวันที่ 30 สิงหาคม ร.ศ.110 ตรงกับ พ.ศ. 2434 ประมาณ 130 กว่าปีที่ผ่านมา อย่าไปบอกใครว่ามาเกาะสีชัง ถ้าไม่ได้มาถ่ายรูปที่นี่ ที่แห่งนี้เหมาะมากเลยสำหรับจะดูพระอาทิตย์ยามเช้าโดยไม่มีการเก็บเงินค่าเข้าชม

สะพานอัษฎางค์ ยามบ่าย
สะพานอัษฎางค์ ยามบ่าย
สะพานอัษฎางค์ ยามบ่าย
สะพานอัษฎางค์ ยามบ่าย
สะพานอัษฎางค์ ยามบ่าย
สะพานอัษฎางค์ ยามบ่าย
สะพานอัษฎางค์ ยามบ่าย
สะพานอัษฎางค์ ยามบ่าย

เรือนวัฒนา เป็นเรือนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระคลังข้างที่จ้างเหมาสร้าง เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้ป่วยที่เดินทางมารักษาตัวที่เกาะสีชังเรียกกันว่า อาไศรยสถาน ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปีพุทธศักราช 2431 ในปีพุทธศักราช 2432

เกาะสีชัง-เรือนวัฒนา
เกาะสีชัง-เรือนวัฒนา

เมื่อการก่อสร้างอาไศรยสถานแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทำพิธีฉลองอาไศรยสถานแห่งนี้ โดยมีพิธีสวดมนต์ ถวายภัตตาหารพระสงฆ์และพระราชทานชื่อเรือนแห่งนี้ว่า เรือนวัฒนา ตามพระนามสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ที่ทรงบริจาคทรัพย์จัดซื้อเครื่องตกแต่งสำหรับเรือนแห่งนี้ เรือนแห่งนี้เข้าใจว่าในระหว่าง ปีพุทธศักราช 2434-2436 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินประทับ ณ เกาะสีชัง ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าพักอาศัยเนื่องจากอยู่ในบริเวณพระราชฐานและใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์และพระราชวงศ์ เมื่อพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

เรือนผ่องศรี เป็นเรือนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์ส่วนพระคลังข้างที่จ้างเหมาสร้าง เพื่อใช้เป็นที่พักอาศัยสำหรับผู้ป่วยที่เดินทางมารักษาตัวที่เกาะสีชังเรียกกันว่า อาไศรยสถาน ในวโรกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษาเมื่อปีพุทธศักราช 2431 ในปีพุทธศักราช 2432

เกาะสีชัง-เรือนผ่องศรี
เกาะสีชัง-เรือนผ่องศรี

เมื่อการก่อสร้างอาไศรยสถานแล้วเสร็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทำพิธีฉลองอาไศรยสถานแห่งนี้ โดยมีพิธีสวดมนต์ ถวายภัตตาหารพระสงฆ์และพระราชทานชื่อเรือนแห่งนี้ว่า เรือนผ่องศรี ตามพระนามพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี ที่ทรงบริจาคทรัพย์จัดซื้อเครื่องตกแต่งสำหรับเรือนแห่งนี้ เรือนแห่งนี้เข้าใจว่าในระหว่าง ปีพุทธศักราช 2434-2436 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เสด็จพระราชดำเนินประทับ ณ เกาะสีชัง ดังนั้นจึงไม่อนุญาตให้บุคคลทั่วไปเข้าพักอาศัยเนื่องจากอยู่ในบริเวณพระราชฐานและใช้เป็นที่ประทับส่วนพระองค์และพระราชวงศ์ เมื่อพระที่นั่งและพระตำหนักต่างๆยังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

เจดีย์เหลี่ยม ไม่ปรากฏประวัติการสร้างแต่อย่างไร สันนิษฐานเพียงว่าน่าจะเป็นเจดีย์ตามบันทึกของนาย จอร์น ครอว์เฟิร์ด ( John Crawfurd ) ราชฑูตอังกฤษเมื่อปลายรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยในปี พ.ศ. 2365

เกาะสีชัง-เจดีย์เหลี่ยม
เกาะสีชัง-เจดีย์เหลี่ยม

ได้บันทึกการสำรวจสภาพภูมิประเทศ พันธ์พืช สัตว์ ธรณีสัณฐาน ตลอดจนชุมชนท้องถิ่นเกาะสีชัง โดยพบว่ามีเจดีย์อิฐ สูง 30 ฟุต สันนิษฐานว่าเป็นที่สำหรับชาวเรือมานมัสการ ลักษณะทางสถาปัตยกรรม : เป็นเจดีย์ก่ออิฐฉาบปูน รูปเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองทรงชะลูด มีฐานเป็นแท่นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ความกว้างประมาณ 7 เมตร ฐานสูง 0.60 เมตร ตัวเจดีย์มีความสูงจากพื้นถึงส่วนยอดประมาณ 8.30 เมตร ส่วนยอดและส่วนฐานขององค์เจดีย์แกะเป็นลวดลายกลีบบัว ตัวเจดีย์ตั้งบนพื้นหินหันด้านต่างๆ ตรงกับทิศทั้ง 4

หินระฆัง เป็นหินปูนผสมหินทรายเกิดขึ้นตามธรรมชาติ ที่มีความแข็งและหนาแน่นมาก เมื่อเคาะจะทำให้เกิดเสียง ซึ่งเป็นเสียงคล้ายระฆัง ปัจจุบันได้นำมาตั้งอยู่ที่ลานหินโบราณ ซึ่งเป็นลานหินปูนที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 300-400 ล้านปี ซึ่งสันนิษฐานว่าอาจเคยอยู่ใต้ทะเลมาก่อน

เกาะสีชัง-หินระฆัง
เกาะสีชัง-หินระฆัง

เจดีย์เหลี่ยม วัดอัษฎางคนิมิตร เกาะสีชังแต่เดิมมีวัดอยู่เพียงวัดเดียวเป็นวัดของราษฎรเรียกกันว่า วัดเกาะสีชัง ตั้งอยู่ที่ปลายแหลม ที่เรียกว่า แหลมวัด ต่อมาเมื่อมีการสร้างพระราชวังขึ้นที่แหลมนี้เมื่อปีพุทธศักราช 2435 แหลมนี้จึงได้ชื่อว่า แหลมวัง วัดเกาะสีชังในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยา ทิพากรวงษ์ มหาโกษาธิบดี (ซำ) มาดำเนินการบูรณปฏิสังขรณ์ จึงปรากฏพระอุโบสถและเสนาสนะต่างๆที่เกาะสีชังในระยะหลังต่อมา ได้แก่ พระอุโบสถขนาดสามห้องบนเนินเขา มีเก๋งหน้าพระอุโบสถที่ยื่นจากเขาลงไปในทะเล มีบันไดปูนสำหรับขึ้นและศาลาการเปรียญรวมทั้งกุฏิ 2-3 หลังริมน้ำ

เจดีย์เหลี่ยม วัดอัษฎางคนิมิตร
เจดีย์เหลี่ยม วัดอัษฎางคนิมิตร
เจดีย์เหลี่ยม วัดอัษฎางคนิมิตร
เจดีย์เหลี่ยม วัดอัษฎางคนิมิตร

พระอารามซึ่งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้ปฏิสังขรณ์ขึ้นนั้น มีพระอุโบสถกว้าง 3 วา ยาว 9 วา 2 ศอก สูง 3 วา ศาลาการเปรียญหนึ่งหลัง กุฏิฝากระดาน 7 หลัง วัดนี้ไม่ได้รับพระราชทานชื่อ แต่ชาวบ้านโดยทั่วไปเรียกกันว่า “วัดเกาะสีชัง”

ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เดินมาถึงบริเาณนี้แล้ว เสนอเจอกับความแห้งของใบ หากกลับมาสวยงามขึ้นคงได้รับลนเย็นๆ ปกปิดแสงแดดร้อนๆ ได้เหมือนกัน บริเวณพระเจดีย์อุโบสถวัดอัษฎางคนิมิตรมีต้นพระศรีมหาโพธิ์ซึ่งนำหน่อมาจากพุทธคยา ประเทศอินเดีย โดยพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นดำรงราชานุภาพ ( พระยศขณะนั้น ) เมื่อปีพุทธศักราช 2434 ดังรายละเอียดทรงเล่าไว้ในหนังสือนิทานโบราณคดีดังต่อไปนี้

เกาะสีชัง-ต้นพระศรีมหาโพธิ์
เกาะสีชัง-ต้นพระศรีมหาโพธิ์

“ฉันได้เล่ามาแล้วว่า เมื่อไปถึงเมืองคยา มิสเตอร์เครียร์สัน เจ้าเมืองคยาได้เตรียมต้นโพธิ์พันธุ์ พระศรีมหาโพธิ์ไว้ให้ฉัน 3 ต้น เดิมฉันนึกว่าจะไม่รับเอามา เพราะเห็นว่าต้นยังอ่อนนักคงมาตายกลางทาง แต่นึกขึ้นมาว่า แต่ก่อนมาเมืองไทยยังไม่เคยได้ต้นโพธิ์พันธุ์พระศรีมหาโพธิ์จากต้นเดิมที่พุทธคยา น่าจะลองเอามาดูสักทีเผื่อจะรอดได้ ถ้าไปตายกลางทางก็แล้วไป ฉันจึงให้ต่อหีบหลังกระจกใส่กระบอกต้นโพธิ์ 3 ต้นนั้น เอาติดตัวมาด้วย เมื่อมากลางทางเห็นต้นโพธิ์แตกใบอ่อนก็เกิดปิติ ด้วยจะได้เป็นผู้นำต้นโพธิ์พระศรีมหาโพธิ์ตรงมาจากเมืองพุทธคยาเข้ามาเมืองไทยเป็นครั้งแรก เมื่อวันกลับมาถึงกรุงเทพฯ นำต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ได้มาจากพุทธคยา ไปถวายสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงที่เกาะสีชัง เวลานั้นกำลังทรงสร้างวัดอัษฎางคนิมิตร โปรดเกล้าฯ ให้ปลูกไว้ที่วัดอัษฎางคนิมิตร ต้นหนึ่ง อีกสองต้นโปรดฯให้ชำไว้ในเขตพระราชฐานที่เกาะสีชัง ครั้งทรงสร้างวัดเบญจมบพิตร โปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาปลูกไว้ที่วัดเบญจมบพิตรต้นหนึ่ง ที่เหลืออยู่อีกต้นหนึ่งจะยังอยู่ที่เกาะสีชังหรืออย่างไร ฉันหาทราบไม่”

ต้นพระศรีมหาโพธิ์หน้าวัดอัษฎางคนิมิตรนี้ ถือเป็นต้นไม้ที่สำคัญมากของเกาะสีชังและประเทศไทย เพราะเป็นต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่มีการนำหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยาซึ่งเป็นต้นลูกหลานของต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสรู้ และถือเป็นครั้งแรกที่นำมาจากพุทธคยาโดยตรงของประเทศไทย ไม่ได้มาจากลังกา

ณ จุดนี้เราใช้เวลาผ่านไปเร็วมา เดินไปเดินมา ชมนั้นนี้ซึมซับอดีต ในวันที่พบกับความแห้งแรง ที่ขาดการดูแลรักษา ด้วยเหตุผลที่เราไม่สามารถรู็ได้มานัก อาจจะเป็นเพราะฝนไม่ได้ตก วันนี้อะไรก็ดูไม่เขียวสบายตา

ที่มาของข้อมูล พิพิธภัณฑ์พระจุฑาธุชราชฐาน

จุดที่ 2 และ 3 สะพานวชิราวุธ / แหลมเขาขาด

จากจุดแรกที่เราไป ใช้เวลาสักพักก็ได้เวลาไปชมพระอาทิตย์ตกน้ำกันดีกว่า ออกจากสะพานอัษฎางค์ขับมอเตอร์ไซต์เป็นเส้นตรงอย่างเดียว ผ่านชุมชนระยะทางประมาณ 2.4 กิโลเมตร 2 จุดนี้อยู่ติดกัน โปรดอย่าลืมดู วัน เวลา พระอาทิตย์ตกด้วยนะ เผื่อเวลาเดินชมวิวก่อนก็ดี แนะนำให้มาเวลาประมาณ 17:00 น. จอดรถด้านหน้าก็ลงเดินได้เลย เส้นทางเดิน มี 2 เส้นทางหลักด้วยกัน คือด้านบนได้วิวมุมสูง ด้านล่างวิวทะเล เลือกเส้นทางกันได้เลย โดยสถานที่แห่งนี้จะเป็นแหลมเล็กๆ ทอดตัวยาวออกไปในทะเล วิวจากทางที่เรากำลังเดินดูเป้นหน้าผาเล็ก เห็นผู้คนมาตกปลากันเยอะเหมือนกัน ระหว่างทางก็พบสิ่งก่อสร้างที่ทิ้งร้างเอาไว้นานจนเป็นสนิม มาเรื่องของเราดีกว่าที่กำลังจะชมพระอาทิตย์ตกน้ำ ถ่ายภาพสวยๆ จุดนี้เป็นจุดที่ไม่ควรพลาด ถ่ายยังไงก็ออกมาสวยจริงๆ จบหลังกล้องได้เลย โชคดีวันฟ้าระเบิด (ภาษาช่างภาพ) หรือท้องฟ้าสีเหลือง รับรองได้เลยว่าได้ภาพสวยๆ กลับไปแน่นอน ส่วนขากลับกะว่าจะเดินกลับข้างล่างไปแต่เดินไม่สะดวก เพราะความสว่างไปเพียงพอให้เห็นทางเดินจะมีแสงสว่างเฉพาะบนสะพาน อาจเพราะเราใช้เวลานาน เก็บภาพเยอะ นั่งเล่นรับลม จนลืมเวลา

เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ
เกาะสีชัง-สะพานวชิราวุธ

จุดที่ 4 ประภาคารเปลี่ยนสี

ตกค่ำได้เวลาอาหาร ท้องเริ่มหิว แต่วิวก็อยากเก็บ แถมก่อนหมดวันด้วย ประภาคารเปลี่ยนสี ที่เกาะสีชัง ต้องหาวิวที่ออกห่างออกมา จะเข้าไปหาตัวประภาคารเลยไม่ได้เพราะเค้าปิดถนนไม่ให้เข้า ใช้เวลาประมาณ 15 นาที นั่งชมเปลี่ยนประภาคารเปลี่ยนสีให้ครบในเวลากลางคืน ต่อจากนั้นก็ขับรถหาร้านอาหาร พื้นถิ่นทาน บางคนก็ต้องจัดอาหารทะเลเป็นมื่อค่ำ แต่พอเราได้รอไปร้านดังแล้วก็ต้องตกใจในราคา ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องปกติสำหรับการเที่ยวเกาะเพราะราคาสินค้าต่างๆ ก็จะสูงขึ้น แต่สบายใจได้เพราะบนเกาะแห่งนี้มีร้าน 7 eleven เปิดให้บริการ สุดท้ายเราจบที่ผัดไทย และบัวลอยทรงเครื่อง แนะนำเลยว่าต้องลองครับ ราคาย่อมเยาว์และรสชาติดี ราตรีสวัสดิ์สำหรับวันนี้ ตอนหน้ามาต่อจุดท่องเที่ยวที่เหลือ อีก 1 ที่เที่ยวชลบุรี

ประภาคารเปลี่ยนสี-เกาะสีชัง
ประภาคารเปลี่ยนสี-เกาะสีชัง
ประภาคารเปลี่ยนสี-เกาะสีชัง
ประภาคารเปลี่ยนสี-เกาะสีชัง
ประภาคารเปลี่ยนสี-เกาะสีชัง
ประภาคารเปลี่ยนสี-เกาะสีชัง
ทะเลงาม ข้าวหลามอร่อย อ้อยหวาน จักสานดี ประเพณีวิ่งควาย

ความประทับใจ

  • เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีป้ายบอกจุดท่องเที่ยวมากที่สุด และชัดเจนดีมาก
  • เป็นเกาะไม่ใหญ่ มีสถานที่ท่องเที่ยวเยอะ
  • การเดินทางสะดวก
  • ชาวเกาะน่ารักทุกคน มีมิตรไมรตรี ดีมากๆ กับนักท่องเที่ยว

ข้อควรรู้ และสิ่งที่ต้องทำ

  • สถานที่ถูกทอดทิ้ง ไม่ได้รับการบำรุงรักษา หลายจุด อาจจะไม่ได้ภาพประทับใจกลับไป
  • ที่จอดฟรีมีให้ แต่วันหยุดยาว ต้องรีบมา หรือหาสถานที่จอดรถใหม่ ที่ให้บริการ
  • ราคาเช่ามอเตอร์ไซต์ อยู่ที่ 300 บาท ไม่มีสัญญา ไม่มีแลกบัตร อย่าไปทำรถเขาเสียหายแล้วกัน

คำถาม ที่มีคำตอบ

ระยะทางจากกรุงเทพ
0
กิโลเมตร
API key not valid, or not yet activated. If you recently signed up for an account or created this key, please allow up to 30 minutes for key to activate.
*ข้อมูลโดยรวมของจังหวัด
Play Video

ภาพประทับใจ

ท่องเที่ยวตามภูมิภาค

จุดหมาย ของการท่องเที่ยว

Scroll to Top